สมรรถนะการเจริญเติบโตและการผลิตแก๊สมีเทนของโคเนื้อพื้นเมืองไทยที่ปล่อยแทะเล็มและ การตัดหญ้ารูซี่ไปให้กินที่คอกร่วมกับการเสริมและไม่เสริมอาหารข้น

Main Article Content

สุวิทย์ ทิพอุเทน
สุรเดช ฃ พลเสน
กฤตพล สมมาตย์
ธำรงศักดิ์ พลบำรุง
Yinmin Cai
D.E.B Higgs

บทคัดย่อ

ถึงแม้การเสริมอาหารข้นในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องทราบดีว่าเป็นอีกกลยุทธ์ที่สามารถช่วยลดการผลิตแก๊สมีเทนจากกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนได้ แต่การวิจัยเกี่ยวกับผลของการเสริมอาหารข้นต่อการผลิตแก๊สมีเทนจากกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนของสัตว์เคี้ยวเอื้องภายใต้สภาพปล่อยแทะเล็มในทุ่งหญ้าของประเทศไทยยังมีน้อย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการเจริญเติบโตและการปลดปล่อยแก๊สมีเทนจากโคเนื้อพื้นเมืองไทย ภายใต้ระบบการปล่อยแทะเล็มในแปลงพืชอาหารสัตว์และระบบการตัดไปให้กินที่คอกร่วมกับกาเสริมและไม่เสริมอาหารข้น ใช้โคเนื้อพื้นเมืองไทยสามสิบตัวเป็นเพศผู้ตอนและเพศเมียอย่างละสิบห้าตัว สุ่มให้ได้รับระบบการเลี้ยงที่ต่างกันคือ T1 = ปล่อยแทะเล็มในแปลงหญ้าธรรมชาติแบบต่อเนื่อง, T2 = ปล่อยแทะเล็มในแปลงหญ้ารูซี่แบบหมุนเวียน, T3 = ตัดหญ้ารูซี่ไปให้กินที่คอก, T4 = ปล่อยแทะเล็มในแปลงหญ้ารูซี่ร่วมกับการเสริมอาหารข้นให้กินหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัวต่อวัน และ T5 =ตัดหญ้ารูซี่ไปให้กินที่คอกร่วมกับการเสริมอาหารข้นให้กินหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัวต่อวัน ตามล้าดับ ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกใช้โคหกตัวต่อระบบการเลี้ยง พบว่าน้้าหนักตัวของโคในระบบการเลี้ยงแบบปล่อยแทะเล็มในทุ่งหญ้าธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง (T1) โคในระบบการปล่อยแทะเล็มแบบหมุนเวียน (T2) และโคในระบบการตัดหญ้ารูซี่ไปให้กินที่คอกไม่เสริมอาหารข้น (T3) ท้าให้โคมีน้้าหนักตัวติดลบ การปล่อยโคพื้นเมืองไทยเข้าแทะเล็มแบบต่อเนื่องในทุ่งหญ้าธรรมชาติโดยไม่เสริมอาหารข้น (T1) ให้ค่าอัตราการปลดปล่อยแก๊สมีเทนจากพลังงานรวมที่กินได้ทั้งหมด 7.46 %Ym ซึ่งอยู่ในช่วง 6.5±1.0 %Ym ตามข้อเสนอของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC, 2006)ขณะที่โคพื้นเมืองไทยที่ใช้ระบบการเลี้ยงแบบตัดหญ้ารูซี่ไปให้กินที่คอกร่วมกับการเสริมอาหารข้น (T5) ให้ค่าอัตราการปลดปล่อยแก๊สมีเทนจากพลังงานรวมที่กินได้ทั้งหมด 3.05 %Ym จากการศึกษานี้เสนอแนะว่าการเลี้ยงโคในระบบการตัดหญ้ารูซี่ไปให้กินที่คอกร่วมกับการเสริมอาหารข้น 1 เปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัว สามารถลดปริมาณการปลดปล่อยแก๊สมีเทน
และท้าให้สมรรถนะการเจริญเติบโตของโคเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย