การเลี้ยงชันโรงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

จิตเกษม หลำสะอาด
พรพรหม พรหมเมศร์
พรพรหม พรหมเมศร์
วสันต์ สุทธโส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเลี้ยงชันโรงในพื้นที่ป่าชายเลน ป่าพรุน้้ากร่อย สวนผสมในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและส้ารวจชนิดชันโรงในธรรมชาติและชนิดพืชดอกในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง โดยเลี้ยงชันโรง Tetragonula fascobalteataในพื้นที่ป่าชายเลน ป่าพรุน้้ากร่อย สวนผสม บันทึกข้อมูลโดยการชั่งน้้าหนักรังก่อนเลี้ยง หลังเลี้ยง และระหว่างเลี้ยงเป็นเวลา 12เดือน (กุมภาพันธ์ 2558- มกราคม 2559) ชั่งน้้าหนักระหว่างเลี้ยงทุก 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยของน้้าหนักรังเลี้ยงที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน และเปรียบเทียบความแตกต่างของแต่ละกลุ่มการทดลองด้วย Duncan Multiple RangeTest (DMRT) ส้ารวจชนิดชันโรงในธรรมชาติและชนิดพืชดอกบริเวณรอบโรงเรือนเลี้ยงชันโรงมีรัศมีประมาณ 200-300 เมตรเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยง T. fascobalteata ในบริเวณป่าชายเลน ป่าพรุน้้ากร่อย สวนผสม พบว่ารังเลี้ยงมีน้้าหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 373.33, 343.33, 235.00 กรัม ตามล้าดับ เมื่อเปรียบเทียบพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และพบชันโรงในธรรมชาติ 4 สกุล 6 ชนิด คือ Genotrigona thoracica (Smith), Tetragonilla collina (Smith),Tetragonula fascobalteata (Cameron), Tetragonula dresheri (Schwarz), T. pegdeni (Schwarz), Tetrigonaapicalis (Smith) และพืชดอกใน ป่าชายเลนพบ 31 วงศ์ 50 ชนิดป่าพรุน้้ากร่อยพบ 18 วงศ์ 26 ชนิด สวนผสมพบ 33 วงศ์ 59ชนิด

Article Details

บท
บทความวิจัย