การประเมินผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์อ้อยดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน ้าฝนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จุฑามาศ เครื่องพาที
พัชริน ส่งศร
นันทวุฒิ จงรั้งกลาง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยที่ใช้ในระบบการผลิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่จ านวนน้อย หากเกิดโรคระบาดใหม่ๆ หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จะท าให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ดังนั้นจ าเป็นต้องมีพันธุ์อ้อยดีเด่นที่ปรับตัวได้ดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลผลิตอ้อยและลักษณะทางการเกษตรของอ้อยพันธุ์ดีเด่นภายใต้สภาพอาศัยน้ าฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จ านวน 4 ซ้ า ใช้พันธุ์อ้อยจำนวน 17 พันธุ์ ได้แก่ KKU99-01, KKU99-02, KKU99-03, KKU99-06, KK06-419, KK06-501, CSB07-79, CSB07-219,UT84-12, UT84-13, MPT02-187, MPT02-458, TBy28-1211, TBy28-0941 และ Kps01-12 โดยมีพันธุ์ KK3 และ K88-92 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ปลูกทดสอบอ้อย 2 สถานที่ ได้แก่ ที่ จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น เมื่ออ้อยอายุ 12 เดือนหลังปลูกตรวจวัดข้อมูลลักษณะผลผลิตอ้อย ผลผลิตน้ าตาล องค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ จ านวนล าต่อไร่และน้ าหนักล า และลักษณะทางการเกษตร ได้แก่ ความยาวล า เส้นผ่านศูนย์กลางล าต้น จ านวนปล้อง จ านวนใบสดและใบแห้ง พบว่า พันธุ์อ้อยที่มีความเหมาะสมและสามารถปรับตัวได้ดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ Kps01-12 (19.86 ตัน/ไร่ และ 2.49 ตัน ซี.ซี.เอส./ไร่) และ KKU99-03 (19.18 ตัน/ไร่ และ 1.86 ตัน ซี.ซี.เอส./ไร่) เนื่องจากมีผลผลิตอ้อยและผลผลิตน้ าตาลสูงไม่แตกต่างจากพันธุ์เปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม พันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมกับชนิดดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินแตกต่างกัน ในการทดสอบครั้งนี้พบว่าพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในเขตดินทราย ได้แก่ Kps01-12, MPT02-187, KKU99-02 และ KKU99-03และพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในเขตดินทรายปนร่วน ได้แก่ TBy28-0941 นอกจากนี้ ลักษณะทางการเกษตรและองค์ประกอบผลผลิต เช่น ความยาวล า น้ าหนักล าและจ านวนล าต่อไร่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลผลิตอ้อย ดังนั้น ลักษณะเหล่านี้มีส่วนส่งเสริมให้อ้อยมีผลผลิตที่ดีในสภาพอาศัยน้ าฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Article Details

บท
บทความวิจัย