ผลของการใช้น้้าเหลือทิ้งจากการเลี้ยงปลาดุกต่อการเจริญเติบและผลผลิตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้ ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบสารละลายธาตุอาหารไม่หมุนเวียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
น้้าเหลือทิ้งจากการเลี้ยงปลาอุดมด้วยธาตุอาหารพืชซึ่งอาจเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรผักจีนร่วมกับน้้าเหลือทิ้งจากการเลี้ยงปลาดุกในสัดส่วนที่แตกต่างกันต่อคุณสมบัติทางเคมีของสาระลายธาตุอาหาร (สิ่งทดลอง) นั้นๆ และการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้ที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารที่แตกต่างกัน ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบสารละลายไม่หมุนเวียน ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2558จากการศึกษาพบว่า สารละลายธาตุอาหารสูตรผักจีนมีค่าความเป็นกรด - ด่าง (pH) ค่าการน้าไฟฟ้า (EC) ค่าของแข็งที่ละลายน้้าทั้งหมด (TDS) และค่าความเค็ม (Salinity) เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้ตลอดการทดลองหรืออยู่ในช่วง 5.82-6.44, 3.28-3.61 mS/cm, 2.32-2.76 g/L และ 1.74-1.93 g/L ตามล้าดับ ขณะเดียวกันการใช้สารละลายธาตุอาหารสูตรผักจีน 75% ร่วมกับน้้าเหลือทิ้งจากการเลี้ยงปลาดุก 25% (โดยปริมาตร) และสารละลายธาตุอาหารสูตรผักจีนมีผลให้ผักกวางตุ้งฮ่องเต้มีการเจริญเติบโตสูงสุดและไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยที่อายุ 28 วันหลังย้ายปลูก ผักกวางตุ้งฮ่องเต้มีความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่ม และจ้านวนใบ เท่ากับ 30.34 และ 29.77 cm, 29.51 และ 28.67 cm, และ 9.78 และ 8.61leaf/plant ตามล้าดับ ทั้งนี้ ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารสูตรผักจีนมีผลผลิตสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งทดลองอื่น โดยผักกวางตุ้งฮ่องเต้มีน้้าหนักสดและน้้าหนักแห้งของต้น และน้้าหนักสดและน้้าหนักแห้งของราก ที่เก็บเกี่ยวที่อายุ30 วันหลังย้ายปลูกเท่ากับ 273.1 และ 5.31 g/plant และ 6.52 และ 0.69 g/plant ตามล้าดับ