คุณภาพน้ำและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำชี

Main Article Content

สมสงวน ปัสสาโก
จุไรรัตน์ คุรุโคตร
ชมภู่ เหนือศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้้าทางกายภาพเคมี ชีวภาพและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้้าชี บริเวณที่ไหลผ่านจังหวัดมหาสารคามโดยก้าหนดพื้นที่ศึกษาจ้านวน 6 สถานี ตามความยาวของแม่น้้าชี ในแต่ละสถานีจะท้าการเก็บตัวอย่างน้้าจ้านวน 6 ครั้ง (ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558) พารามิเตอร์ที่ท้าการตรวจวัดคุณภาพน้้า
ได้แก่ อุณหภูมิ ความโปร่งใส ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้้า (DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (BOD) ปริมาณไนเตรตในรูปไนโตรเจน(NO 3 -  -N) ปริมาณออร์โธฟอสเฟต (PO4 3- ) และปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ส้าหรับการศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ท้าการศึกษาค่าดัชนีความหลากหลาย (H') ดัชนีความสม่้าเสมอ (J') และดัชนีความชุกชุม (R) ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้้าของแม่น้้าชี แต่ละพารามิเตอร์มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างช่วงดังต่อไปนี้ อุณหภูมิ 21.20-34.00°C ความโปร่งใส 15.00-80.00 เซนติเมตร ค่าเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 6.84-10.00 ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้้า (DO) 2.00 - 9.80 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ (BOD) 1.00-6.07 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณไนเตรตในรูปไนโตรเจน (NO 3 - -N) 0.40-1.13 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณออร์โธฟอสเฟต (PO4 3- ) 0.08-0.45มิลลิกรัม/ลิตร และปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 1.24 – 6.25 x 103MPN/100 มิลลิลิตร สัตว์หน้าดินที่พบในแม่น้้าชีมีจ้านวน 3 ไฟลัม ได้แก่ ไฟลัมอาร์โทรโปรดา ไฟลัมมอลัสกา และไฟลัมแอลนีลิดา ส้าหรับค่าดัชนีความหลากหลาย (H') มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.28 ค่าดัชนีความสม่้าเสมอ (J') มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.56 (56%) และค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิด (R) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 จากการศึกษาพบว่า คุณภาพน้้าของแม่น้้าชี เมื่อน้ามาเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้้าผิวดินสามารถจัดคุณภาพน้้าอยู่ในประเภทที่ 3 และพบว่าความหลากหลายของสัตว์หน้าดินขึ้นอยู่กับคุณภาพน้้า สัตว์หน้าดินส่วนใหญ่จะอาศัยชุกชุมอยู่ในบริเวณ ที่มีคุณภาพน้้าดี ส่วนบริเวณที่มีคุณภาพน้้าต่้าจะพบสัตว์หน้าดินจ้าพวกหนอนแดง (Chironomus sp.) ซึ่งมีความทนทานต่อความ สกปรกของน้้า ดังนั้นจึงสามารถใช้สัตว์หน้าดินเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้้าได้

Article Details

บท
บทความวิจัย