การจำแนกพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพเชิงวัตถุ และการจำแนกแบบต้นไม้ตัดสินใจ : กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจำแนกพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังจากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT 8 ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวัตถุกรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำแนกพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวัตถุ ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงวัตถุมาใช้ในการจำแนก โดยการแบ่งส่วนข้อมูลภาพ (Segmentation) ก่อนการจำแนกเพื่อจัดกลุ่มให้กับข้อมูลภาพ กำหนดค่าปัจจัยในการแบ่งส่วนข้อมูลภาพ ได้แก่ ขนาดของภาพ (Scale parameter) รูปร่าง(Shape parameter) และค่าความหนาแน่น (Compactness parameter) เพื่อให้วัตถุภาพตรงกับคุณลักษณะวัตถุแต่ละประเภทและน าค่าเฉลี่ยของวัตถุภาพที่ได้มาใช้ในการจำแนกวัตถุภาพต่อไป ซึ่งผลการวิจัยสามารถแบ่งส่วนข้อมูลภาพได้ 11,800 วัตถุภาพโดยผู้วิจัยได้จำแนกพื้นที่พืชพรรณได้ 8,783 วัตถุภาพ คิดเป็น 3,042,100 ไร่ และน าชุดข้อมูลพืชพรรณไปจำ แนกพืชมันสำปะหลังตามช่วงอายุได้ในการจ าแนกในระดับขั้นต่างๆ ตามเงื่อนไขของแต่ละขั้นการจ าแนก ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายอยู่ในระดับขั้นที่ 4 โดยสามารถจำแนกมันสำปะหลังโรงงานในจังหวัดมหาสารคาม สามารถจำแนกพื้นที่มันส าปะหลังได้ จำนวน 2,998 วัตถุภาพ คิดเป็นพื้นที่ 2,168,112 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 65 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ในการตรวจสอบคามถูกต้องของการจ าแนก ผู้วิจัยได้ก าหนดต าแหน่งที่ส ารวจภาคสนามจ านวน 60 จุด ลงบนวัตถุภาพที่จำแนกเพื่อตรวจสอบ พบว่าในวัตถุภาพตรงกับมันส าปะหลังจ านวน 48 จุดคิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งผลที่ได้จาการวิจัยในครั้งนี้ สามารถน ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร จัดการโซนนิ่งทางการเกษตร และทราบถึงพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกทางการเกษตร และสามารถคาดการณ์ปริมาณของพื้นที่เพาะปลูกและปริมาณผลผลิตได้โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการส ารวจ ลดค่าใช้จ่ายในการสำรวจพื้นที่จริง อีกทั้งยังสามารถนำไปบูรณาการในการติดตามในเรื่องของการให้ค่าตอบแทนการผลิตหรือลงทะเบียนเกษตรกรได้ง่ายขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย