ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

นราธิป ศรีพั้ว
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม บางประการของเกษตรกร 2) สภาพการเลี้ยงและปัญหาในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร และ 4) เปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรที่มีลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และสภาพการเลี้ยงโคเนื้อที่แตกต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้เก็บรวมรวบข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม2558 – มกราคม 2559 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 202 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม ค่าสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่่าสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่าหรับการเปรียบเทียบความต้องการใช้สถิติ ค่า t-test และค่า F-test ที่ระดับความเชื่อมั่น93% ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.95 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ ท่านา และเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพรอง มีรายได้รวมของครัวเรือนในรอบปีเฉลี่ย 64,870.30 บาท ใช้เงินทุนหมุนเวียนในการเลี้ยงโคเนื้อในรอบปีเฉลี่ย 11,024 บาท รายได้ทั้งหมดจากการเลี้ยงโคเนื้อของครัวเรือนเฉลี่ย47,656.72 บาท และมีจ่านวนแรงงานในการเลี้ยงโคเนื้อของครัวเรือนเฉลี่ย 1.69 คน เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 21.2 ปี พันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยงคือ โคเนื้อพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์อเมริกันบรามันห์ ส่าหรับการจ่าหน่ายโคเนื้อเกษตรกรจะจ่าหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อภายในหมู่บ้าน และจะจ่าหน่ายโคเนื้อเฉพาะเพศผู้เป็นหลักเกษตรกรมีความต้องการด้านความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อในระดับมาก ได้แก่ 1) การปลูกหญ้าและจัดการแปลงหญ้า2) การป้องกันโรคระบาดในโคเนื้อ 3) การถนอมพืชอาหารสัตว์ และ 4) การเลือกซื้อพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์โคเนื้อ และมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อในระดับมาก ได้แก่ 1) การเยี่ยมเยียนเกษตรกรเป็นรายบุคคล 2) การทัศนศึกษาดูงาน 3) การฝึกอบรมการเลี้ยงโคเนื้อ 4) การถ่ายทอดความรู้ผ่านผู้น่าหมู่บ้าน 5) การจัดตั้งกลุ่มสาธิตการเลี้ยงโคเนื้อ6) เอกสารค่าแนะน่าการเลี้ยงโคเนื้อ และ 7) ข่าวเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อทางช่องทางวิทยุและโทรทัศน์ และมีความต้องการด้านการสนับสนุนในการเลี้ยงโคเนื้อในระดับมาก ได้แก่ 1) การให้บริการผสมเทียม 2) การบริการผสมพันธุ์โดยวิธีจูงผสม3) การจ่าหน่ายยาก่าจัดพยาธิภายในและภายนอก 4) การให้บริการฉีดวัคซีนและยาบ่ารุง 5) การจัดจ่าหน่ายแร่ธาตุอาหารเสริม 6) เมล็ดพันธุ์/ท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ 7) การจ่าหน่ายพ่อพันธุ์โคเนื้อแก่เกษตรกรที่ให้ความสนใจในการปรับปรุงพันธุ์และ 8) การจ่าหน่ายฟางอัดฟ่อนและหญ้าแห้งอัดฟ่อนในช่วงหน้าแล้งผลจากการเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร จ่านวน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยง ด้านวิธีการส่งเสริมการเลี้ยง และด้านการสนับสนุนในการเลี้ยง โดยจ่าแนกตามเพศ อายุ แรงงานในการเลี้ยงประสบการณ์ในการเลี้ยง และจ่านวนโคเนื้อ ที่แตกต่างกัน พบว่า มีความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติในบางประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย