ผลของการใช้กากมันส าปะหลังที่เหลือจากการผลิตเอทานอล (DDCP) ในสูตรอาหารข้นต่อ สมรรถภาพการเจริญเติบโตในแพะรุ่นพันธุ์พื้นเมืองไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มุ่งศึกษาระดับกากมันส าปะหลังที่เหลือจากการผลิตเอทานอล (DDCP) ในสูตรอาหารข้นต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตแพะรุ่นพันธุ์พื้นเมืองไทย โดยสัตว์ทดลอง คือแพะรุ่นพันธุ์พื้นเมืองไทยเพศผู้ ที่มีน้ าหนักเฉลี่ย 14.28±2.60กิโลกรัม อายุเฉลี่ย 210.5±69.97 วัน จ านวน 12 ตัว ท าการสุ่มจัดเข้าทดลองตามแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์(randomized complete block design; RCBD) ก าหนดให้ได้รับอาหารทดลองที่มีระดับ DDCP ที่แตกต่างกันดังนี้ คือ 1)0% DDCP (สูตรควบคุม), 2) 20% DDCP และ 3) 40% DDCP โดยใช้ฟางแห้งเป็นอาหารหยาบหลักให้กินแบบเต็มที่ตลอดระยะเวลานาน 60 วัน ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ทั้งหมด (538.95, 550.80 และ 511.91 gDM/d; P>0.05) ไม่มีความแตกต่างกันในทุกกลุ่มทดลอง ส่วนความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุแห้ง (66.36, 65.69 และ 59.60 %) และความสามารถในการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุ (67.27, 66.59และ 60.65%) ลดลงทั้งแบบเส้นตรง (linear, P<0.01) และเส้นโค้งก าลังสอง (quadratic, P<0.01) เมื่อเพิ่มระดับ DDCP ไปที่ 40% แต่ในกลุ่มที่ได้รับระดับ 20% DDCP และกลุ่มควบคุมให้ผลไม่แตกต่างกันทั้งในส่วนของความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุแห้งและอินทรีย์วัตถุผลต่อกระบวนการหมักในกระเพาะหมักพบว่า ความเข้มข้นแอมโมเนียไนโตรเจนในกระเพาะหมัก (12.29, 12.31 และ 15.84 mg%) เพิ่มขึ้นทั้งแบบเส้นตรง(linear, P<0.01) และเส้นโค้งก าลังสอง (quadratic, P<0.01) ตามระดับ DDCP ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ได้รับระดับ20% DDCP ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุม โดยที่ระดับ 40% มีค่าสูงกว่าทุกกลุ่ม ส่วนความเข้มข้นของกรดไขมันที่ระเหยง่ายทั้งหมด (85.03, 83.16 และ 75.1 mM/l) ลดลงแบบเส้นตรง (linear, P<0.01) ตามระดับ DDCP ที่เพิ่มขึ้น การศึกษาประชากรจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักพบว่า ประชากรแบคทีเรีย [2.25, 2.24 และ 1.98 (x 1010 cell/ml)] และโปรโตซัว [2.07,2.07 และ 1.84 (x 105 cell/ml)] ลดลงทั้งแบบเส้นตรง (linear, P<0.01) และเส้นโค้งก าลังสอง (quadratic, P<0.01) เมื่อเพิ่มระดับ DDCP ไปที่ 40% แต่ให้ผลไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับ 20% DDCP และกลุ่มควบคุม และการศึกษาผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตพบว่า อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (74.51, 72.77 และ 60.15 g/d) ลดลงแบบเส้นตรง(linear, P<0.01) ตามระดับ DDCP ที่เพิ่มขึ้น คือกลุ่มที่ได้รับสูตร 40% DDCP มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันต่ ากว่าทุกกล่ม โดยที่กลุ่ม 20% DDCP และกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ส่วนอัตราการเพิ่มน้ าหนักต่ออาหารที่ใช้(G:F) (0.14, 0.13 และ0.12 kg of gain/kg of DMI) มีผลไปในทางเดียวกันคือ ลดลงแบบเส้นตรง (linear, P<0.05) ตามระดับที่เพิ่มขึ้นของ DDCPแต่ไม่มีผแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับ 20% DDCP และกลุ่มควบคุม จากผลการทดลองครั้งนี้สรุปว่า สามารถใช้DDCP ได้20% ในสูตรอาหารข้นโดยไม่กระทบต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของแพะรุ่นพันธุ์พื้นเมืองไทย