ผลของแหล่งน้ำมันต่อการผลิตแก๊สในหลอดทดลองการย่อยได้และผลผลิตจากกระบวนการหมักในโคนมลูกผสมไทยฟรีเชี่ยน

Main Article Content

ณพงศ์พจน์ สุภาพ
ฉลอง วชิราภากร
ไชยพัศร์ ธ้ารงยศวิทยากุล
จันทิรา วงศ์เณร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งของน้้ามันที่มีผลต่อการผลิตแก๊ส การย่อยได้และผลผลิตจากกระบวนการหมักในโคนมลูกผสมไทยฟรีเชี่ยนโดยใช้เทคนิคการวัดผลิตแก๊สในหลอดทดลอง โดยน้้ามันที่ใช้ในการศึกษาได้แก่กรดไขมันอิ่มตัว(SFA) ประกอบด้วยไขมันสัตว์ (TA) น้้ามันปาล์ม (PO) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (PUFA) ประกอบด้วยน้้ามันถั่วเหลือง (SBO) น้้ามันทานตะวัน (SFO) ซึ่งเสริมที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้งในอาหาร โดยอาหารทดลองมีสัดส่วนอาหารข้นผสมกับฟางข้าวในอัตราส่วน 50:50 ค่าการผลิตแก๊ส (GP) และผลผลิตจากกระบวนการหมักในหลอดทดลองจะถูกบันทึกและน้าไปค้านวณหลังจากท้าการบ่ม เมื่อเวลาในการบ่มที่ 24 และ 48 ชั่วโมง สารตั้งต้นหัวเชื้อจ้านวน 5 ขวดจะถูกหยุดและน้าไปค้านวณหาค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งในหลอดทดลอง (IVDMD) และการย่อยได้ของอินทรียวัตถุในหลอดทดลอง (IVOMD) ผลการศึกษาพบว่าค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งและการย่อยได้ของอินทรียวัตถุไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลอง (P>0.05) อย่างไรก็ตามอัตราการผลิตแก๊ส (c)ในน้้ามันทานตะวันมีค่าต่้ากว่าน้้ามันชนิดอื่นๆ (P<0.05) นอกจากนี้ค่าประสิทธิภาพการผลิตแก๊ส (EP) และการผลิตแก๊สสะสมที่96 ชั่วโมง (GP96) ของกรดไขมันอิ่มตัวมีค่าสูงกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว (P<0.01) การเสริมน้้ามันปาล์มท้าให้ผลผลิตแก๊สในหลอดทดลอง (GP) และกรดไขมันสายสั้น (SCFA) มีค่ามากกว่าน้้ามันชนิดอื่น ๆ (P<0.05) ในขณะที่การเสริมน้้ามันทานตะวันในอาหารท้าให้ความเข้มข้นของแอมโมเนียไนโตรเจน (NH3-N) มีค่าสูงที่สุด ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัวได้แก่น้้ามันทานตะวันยับยั้งการผลิตแก๊สสะสม ลดอัตราการผลิตแก๊สและลดผลผลิตจากกระบวนการหมักในหลอดทดลอง การเสริมกรดไขมันอิ่มตัวได้แก่น้้ามันปาล์มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแก๊สสะสมและผลผลิตจากกระบวนการหมักในหลอดทดลองมากกว่าน้้ามันชนิดอื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย