ประสิทธิภาพของสารดูดซับพิษจากเชื้อราต่อการขจัดการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซิน บี 1 และ การหมักในกระเพาะรูเมนในหลอดทดลอง

Main Article Content

จิตราภรณ์ เยียนเพชร
ไชยพัศร์ ธำรงยศวิทยากุล
ฉลอง วชิราภากร
ปิยะดา ส่งเสริมสกุล
นพดล สมผล
จันทิรา วงศ์เณร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ได้ด าเนินการโดยใช้เทคนิค in vitro gas production technique เพื่อศึกษาผลของอะฟลาทอกซิน บี 1และสารดูดซับสารพิษจากเชื้อราชนิดต่างๆต่อการลดการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราและประสิทธิภาพของการหมัก โดยวาง แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งอาหารทดลองออกเป็น 8 ทรีตเมนต์ ประกอบด้วย อาหารกลุ่มควบคุม (T1), อาหารเสริม อะ ฟลาทอกซิน บี 1 เข้มข้น 1 ไมโครกรัม/อาหาร 1 มก. (T2), อาหารเสริมสารดูดซับที่ระดับร้อยละ 0.5 (ผงถ่านกัมมันต์ (T3), มอนต์โมริลโลไนต์ (T4), ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae (T5), และอาหารเสริมอะฟลาทอกซิน บี 1 1 ไมโครกรัม/1 มก.ร่วมกับสารดูดซับชนิดต่างๆ ที่ระดับร้อยละ 0.5 (T6, T7, T8) ตามล าดับ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณแก๊สที่ผลิตจากส่วนที่ละลายยาก และปริมาณผลผลิตแก๊สที่ผลิตได้ทั้งหมดในอาหารที่มีของอะฟลาทอกซิน บี 1 ต่ ากว่าในอาหารกลุ่มควบคุม (P<0.05)นอกจากนี้ยังพบว่ามอนต์โมริลโลไนต์ และยีสต์S.cerevisiae มีประสิทธิภาพในการลดผลกระทบของของอะฟลาทอกซิน บี 1 ต่อการผลิตแก๊ส ในทางตรงข้ามอาหารที่เติมอะฟลาทอกซิน บี 1 และอาหารเสริมสารดูดซับสารพิษจากเชื้อราไม่มีผลกระทบต่อการย่อยได้ของวัตถุแห้งและการย่อยได้ของอินทรียวัตถุในหลอดทดลองปริมาณกรดไขมันที่ระเหยง่าย และแอมโมเนีย - ไนโตรเจน(P>0.05) สรุปได้ว่า การศึกษาครั้งนี้พบอะฟลาทอกซิน บี 1มีผลต่อกระบวนการหมักในหลอดทดลอง และการเสริมมอนต์โมริลโลไนต์และยีสต์ S.cerevisiae ที่ระดับร้อยละ 0.5 เป็นสารดูดซับสารพิษจากเชื้อราพบว่ามีประสิทธิภาพสามารถ5ดผลไม่พึงประสงค์ของอะฟลาทอกซิน บี 1 ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย