ความหลากหลายและเครื่องหมายพันธุกรรมในการจําแนกเห็ดกินได้

Main Article Content

ยุวดี อินสําราญ
เนตรชนก จันทร์สว่าง
จักรพันธ์ ศรีวงษา
ภาณุวัตร รื่นเรืองฤทธิ์
มานิตย์ อัญญะโพธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากชนิดและเครื่องหมายพันธุกรรมในการจำแนกเห็ดกินได้โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยาของเห็ดที่กินได้ได้พัฒนาเครื่องหมายทางพันธุกรรมเพื่อศึกษาความแปรผันทางพันธุกรรมของเห็ดกินได้โดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ Internal transcribed spacer (ITS) สำหรับการระบุชนิดของเห็ดกินได้ในพื้นที่ป่าโคกงามโดยทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนตุลาคม 2556 โดยการสำรวจตามเส้นทางการเดินป่าของชุมชนพบเห็ดกินได้ทั้งหมด 7 วงศ์ 15 สกุลและ 31 ชนิดการศึกษาความแปรผันทางพันธุกรรมและสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการโดยใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ Internal Transcribed Spacer (TS) ศึกษาเห็ดกินได้ 11 สปีชีส์จาก 4 วงศ์พบว่า A. princeps, Russula Luteotacta, XeroComus subtomentosus, มีความแปรผันทางพันธุกรรมสูงและมีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับเห็ดชนิดเดียวกันในประเทศไทยสูงบ่งชี้ | ว่าเห็ดสปีชีส์เหล่านี้อาจเป็นสายพันธุ์หรือสปีชีส์ที่แตกต่างจากที่มีรายงานก่อนหน้านี้ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาโมเลกุลและลักษณะทางสัณฐานวิทยาเพื่อตรวจสอบสถานภาพทางสปีชีส์ของเห็ดกลุ่มนี้ในการวิเคราะห์สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการพบว่าสกุล XeroComus subtomentosus จัดเป็น polyphyletic สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการจัดจำแนกเห็ดเหล่านี้ในระดับสกุลนั้นจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงระดับสปีชส์โดยใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย