การประเมินความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจต่อการปลูกผักแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) ของเกษตรกร ประชากรคือ เกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลบ้านเชี่ยน จำนวน 16 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างและการสนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-60 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน รายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 4,457 บาท/เดือน พื้นที่การปลูกผักแตกต่างกันตั้งแต่ 1-30 ไร่ หรือมากกว่า 30 ไร่ ปลูกมานานเฉลี่ย 11.6 ปี ผักที่ได้นำไปขายเอง รูปแบบในการทำการเกษตรเป็นเกษตรผสมผสาน ร้อยละ 62.50 ( = 0.63, S.D. = 0.50) สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ดินร่วนปนทราย ระบบการชลประทานเข้าถึงในบางพื้นที่ สภาพอากาศในฤดูฝนจะแล้ง เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักการปลูกผักแบบ GAP แต่ไม่เคยได้รับความรู้หรือการฝึกอบรมเกี่ยวกับ GAP จากหน่วยงานต่าง ๆ ร้อยละ 56.25 ( = 0.56, S.D. = 0.51) โดยได้รับข้อมูลการปลูกแบบ GAP จากเกษตรกรที่ผ่านการอบรม แสดงว่า เกษตรกรโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-60 ปี ประสบการณ์การปลูกผักเฉลี่ยเกิน 10 ปี แต่ยังไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรแบบ GAP ข้อเสนอแนะในงานวิจัยครั้งต่อไป เกษตรกรควรได้รับการอบรมจากหน่วยงานเพิ่มเติมถึงกระบวนการปลูกแบบ GAP การจัดการศัตรูพืช การวิเคราะห์ดินและน้ำ การใช้ปุ๋ยชีวภาพ และการขอรับรองมาตรฐาน GAP ต่อไปการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจต่อการปลูกผักแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) ของเกษตรกร ประชากรคือ เกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลบ้านเชี่ยน จำนวน 16 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างและการสนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-60 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน รายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 4,457 บาท/เดือน พื้นที่การปลูกผักแตกต่างกันตั้งแต่ 1-30 ไร่ หรือมากกว่า 30 ไร่ ปลูกมานานเฉลี่ย 11.6 ปี ผักที่ได้นำไปขายเอง รูปแบบในการทำการเกษตรเป็นเกษตรผสมผสาน ร้อยละ 62.50 ( = 0.63, S.D. = 0.50) สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ดินร่วนปนทราย ระบบการชลประทานเข้าถึงในบางพื้นที่ สภาพอากาศในฤดูฝนจะแล้ง เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักการปลูกผักแบบ GAP แต่ไม่เคยได้รับความรู้หรือการฝึกอบรมเกี่ยวกับ GAP จากหน่วยงานต่าง ๆ ร้อยละ 56.25 ( = 0.56, S.D. = 0.51) โดยได้รับข้อมูลการปลูกแบบ GAP จากเกษตรกรที่ผ่านการอบรม แสดงว่า เกษตรกรโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-60 ปี ประสบการณ์การปลูกผักเฉลี่ยเกิน 10 ปี แต่ยังไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรแบบ GAP ข้อเสนอแนะในงานวิจัยครั้งต่อไป เกษตรกรควรได้รับการอบรมจากหน่วยงานเพิ่มเติมถึงกระบวนการปลูกแบบ GAP การจัดการศัตรูพืช การวิเคราะห์ดินและน้ำ การใช้ปุ๋ยชีวภาพ และการขอรับรองมาตรฐาน GAP ต่อไป