การผลิตเซลล์ตรึงไซยาโนแบคทีเรียออสซิลลาทอเรีย ในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียสังเคราะห์

Main Article Content

บุรินทร์ มนตรีวิสัย
ธีรวัฒน์ สีทองแดง
ทรงกลด ใบยา
อาภรณ์ บัวหลวง
สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ
บงกช บุญบูรพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเซลล์ตรึงไซยาโนแบคทีเรียออสซิลลาทอเรียในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียสังเคราะห์ศึกษาสูตรเซลล์ตรึงที่เหมาะสมโดยใช้อัตราส่วนสารละลายโซเดียมอัลจิเนต ((C6H8O6)n) ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร กับ สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร แปรผันความเข้มข้นของเซลล์ไซยาโนแบคทีเรียออสซิลลาทอเรีย ร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 โดยน้ำหนักต่ปริมาตร ตั้งทิ้งไว้ในที่มีแสงสีขาว ที่อุณหภูมิห้อง เป็นระยะเวลา 120 นาที ติดตามปริมาณออกซิเจนละลายน้ำด้วยเครื่องวัดออกซิเจนละลายในน้ำ พบว่า สูตรที่ดีที่สุดในการทำเซลล์ตรึง คือ สารละลายโซเดียมอัลจิเนตความเข้มข้นร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และไซยาโนแบคทีเรีย ออสซิลลาทอเรีย ร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร เซลล์ตรึงไซยาโนแบคทีเรียมีความสามารถในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในน้ำเสียสังเคราะห์สูงสุด เท่ากับ 7.25 มก./มล. โดยเซลล์ตรึงไซยาโนแบคทีเรียมีประสิทธิภาพ ในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูงกว่าเซลล์อิสระประมาณ 1.31 เท่า จากการศึกษาครั้งนี้อธิบายได้ว่าเซลล์ตรึงไซยาโนแบคทีเรียออสซิลลาทอเรียสามารถนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้

Article Details

How to Cite
มนตรีวิสัย บ., สีทองแดง ธ., ใบยา ท., บัวหลวง อ., ละลอกน้ำ ส., & บุญบูรพงศ์ บ. (2021). การผลิตเซลล์ตรึงไซยาโนแบคทีเรียออสซิลลาทอเรีย ในการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียสังเคราะห์. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(2), 16–23. https://doi.org/10.14456/paj.2021.16
บท
บทความวิจัย