การเปรียบเทียบตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ราคายางแผ่นดิบในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์ราคายางแผ่นดิบ โดยนำเสนอ 3 ตัวแบบ ได้แก่ วิธีของโฮลท์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลสองชั้นและวิธีของบ็อกซ์–เจนกินส์ ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาเป็นราคายางแผ่นดิบในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 132 เดือน ซึ่งข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2563 จำนวน 120 เดือน สำหรับสร้างตัวแบบทั้ง 3 ตัวแบบ ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 12 เดือน นำมาใช้สำหรับการเปรียบเทียบความแม่นของค่าพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากร้อยละของค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย จากการศึกษาพบว่าตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพยากรณ์ราคายางแผ่นดิบในประเทศไทยคือตัวแบบวิธีของโฮลท์ มีตัวแบบพยากรณ์ดังสมการ เมื่อค่าเริ่มต้น และ ให้ค่าร้อยละของค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากับ 6.608
Article Details
References
Bowerman, B. L., & O’Cannell R. T. (1993). Forecasting and time series: An applied approach. (The duxbury advanced series in statistics and decision sciences). Belmont, CA: Duxbury Press.
Box, G. E. P., Jenkins, G. M., & Reinsel, G. C. (1994). Time series analysis: Forecasting and control (3rd ed.). New Jersey: Prenntice Hall.
Cooperative fund rubber thongphaphum. (2013). Good quality raw rubber sheet. Accessed August 20, 2021. Retrieved from https://www.thansettakij.com/economy/489891
Keerativibool, W., (2015). Forecasting model for the price of rubber unsmoked sheets level 3. RMUTI Journal Science and Technology, 8(2), 131–139. (in Thai)
Keerativibool, W., & Kanjanasamranwong, P. (2014). Forecasting the prices of rubber smoked sheets level 3. KKU Science Journal, 42(1), 235 – 247. (in Thai)
Lorchirachoolnkul, V., & Jitthavech, J. (2005). Forecast techniques (3rd ed.). Bangkok: National institute of development administration (NIDA). (in Thai)