ผลของระยะเวลาและอุณหภูมิในการงอกต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและ กรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริกในข้าวไทยบางชนิด

Main Article Content

พรพิษณุ ธรรมปัทม์
ชูทวีป ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
กฤษฎา ไชยสิงห์

บทคัดย่อ

ข้าวประกอบด้วยชั้นรำ เอนโดสเปิร์มและแกลบ ซึ่งมีส่วนประกอบทางโภชนาการและหน้าที่ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น เส้นใยอาหาร แกมมา-โอริซานอล วิตามิน และแร่ธาตุ การงอกเป็นเทคนิคหนึ่งในการปรับปรุงเนื้อสัมผัสและคุณภาพทางโภชนาการของข้าว ในการศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาการงอกที่แตกต่างกัน (24 48 และ 72 ชั่วโมง) และอุณหภูมิ (30 35 และ 45 องศาเซลเซียส) ต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกรดแกมมา-อะมิโนบิว ทิริก (GABA) ของข้าว กข 6 และข้าวหอมใบเตยเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ไม่ผ่านการงอก ผลการศึกษาพบว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริกของข้าว กข 6 และข้าวหอมใบเตยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาและอุณหภูมิในการงอกเพิ่มขึ้น ข้าว กข 6 และข้าวหอมใบเตยที่ผ่านการงอกที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง ทำให้มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด (p<0.05) อย่างไรก็ตามปริมาณกรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริกของข้าว กข 6 และข้าวหอมใบเตยมีปริมาณสูงสุดเมื่อทำการงอกที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง (p<0.05)

Article Details

How to Cite
ธรรมปัทม์ พ. ., ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ช. ., & ไชยสิงห์ ก. . (2021). ผลของระยะเวลาและอุณหภูมิในการงอกต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและ กรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริกในข้าวไทยบางชนิด. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(2), 49–55. https://doi.org/10.14456/paj.2021.20
บท
บทความวิจัย