การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนบ้านหัวบึง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เฉลิมกิตต์ ภูลวรรณ
ไกรเลิศ ทวีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนบ้านหัวบึงและบริบทป่าชุมชนบ้านหัวบึง การมีส่วนร่วมของชุมชน แนวทางพัฒนาการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนขอประชาชนบ้านหัวบึง หมู่ที่ 9 ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed–Method Research) เก็บข้อมูลจากประชาชนจำนวน 113 ครัวเรือน ในเดือนตุลาคม–ธันวาคม 2562 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการจัดเวทีชุมชนเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการแบบมีส่วนร่วม Appreciation Influence Control (AIC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า บ้านหัวบึงตั้งอยู่ที่ หมู่ 9 ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2442 มีพื้นที่อาศัย 62 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 883.24 ไร่ และที่ดินสาธารณะประโยชน์ 124 ไร่ โดยป่าชุมชนบ้านหัวบึงมีเนื้อที่ 80–0–9 ไร่ มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ไม้ที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ ยางนา เต็ง รัง ตะเคียนหิน มะเดื่อกวาง และมีบ่อน้ำผุดกลางป่าชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน พบว่า การมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติงานและการมีส่วนร่วมด้านการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับมาก ส่วนการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน เพื่อประกอบพิธีกรรมและประโยชน์จากบ่อน้ำผุดมากที่สุด และแนวทางพัฒนาการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน โดยการจัดทำเวทีชุมชนและได้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบของการจัดสร้างตลาดขายสินค้าเกษตรและของป่าหน้าป่าชุมชน

Article Details

How to Cite
ภูลวรรณ เ., & ทวีกุล ไ. (2022). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนบ้านหัวบึง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 19–26. https://doi.org/10.14456/paj.2022.6
บท
บทความวิจัย

References

Chakrapong, P. (2013). Developing a model for people's participation in community forest management. Chiahg Mai. Maejo University. (in Thai)

Chanchai, N. (2007). Local wisdom in community forest management. Bangkok: Taweewat Printing. (in Thai)

Community Forest Management Office. (2018a). Operational manual of area management activities by government support. .Bangkok: National Buddhism Office printing house.

Community Forest Management Office. (2018b). Guidelines for the implementation of forest projects community of the Royal Forest Department. Nonthaburi: Agricultural cooperative association of Thailand Co., Ltd.

Komol, P. (1992). The concept of community forest in Thailand. Bangkok: Agricultural cooperative association of Thailand Co., Ltd. (in Thai)

Orapin, S. (1994). A Guide to organizing meetings for brainstorming on village development: Village development by people's power. Bangkok. Foundation of Thailand development research institute. (in Thai)

Phawadee, T. (2018). Management of community forest in the area of quality class of basin of a river of the third class in Sisaket Province by people’s participation. (Master’s thesis). Sisaket. Sisaket Rajabhat University. (in Thai)

Royal Forest Department. (1999). Community forest promotion officer's manual. Bangkok: Wanawat research division office of forestry academics.

Samat, S. (2005). Bamboo forest management through community participation: area case study Doi Tung development project Mae Fah Luang District Chiang Rai. (Master’s thesis). Chiang Mai. Chiang Mai University. (in Thai)

Suchart, B. (2010). Study of local wisdom in Ban Nong Hua Khon community forest management. (Master’s thesis). Mahasarakham. Mahasarakham University. (in Thai)