การวิเคราะห์ต้นทุน–ผลตอบแทนและช่องทางการจัดจำหน่ายไก่แดงในพื้นที่ภาคใต้

Main Article Content

จรีวรรณ จันทร์คง
บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง
ไพศาล กะกุลพิมพ์
ณปภัช ช่วยชูหนู

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนผลตอบแทน และช่องทางการจัดจำหน่ายไก่แดงในพื้นที่ภาคใต้โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่แดง จำนวน 60 ราย ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชสุราษฎร์ธานี และชุมพร โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ผลการศึกษาด้านต้นทุนผลตอบแทนการผลิตไก่แดง พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่แดงมีรายได้สุทธิ จำนวน 10.13 บาท/ตัว/รอบการผลิต และรายได้เหนือต้นทุนเงินสด จำนวน 28.47 บาท/ตัว/รอบการผลิต ด้านต้นทุนรวมในการเลี้ยงไก่แดง เป็นจำนวน 117.87 บาท/ตัว/รอบการผลิตซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร ด้านต้นทุนคงที่ จำนวน 6.09 บาท/ตัว/รอบการผลิต ประกอบด้วย ค่าเสื่อมราคาโรงเรือนและอุปกรณ์ ค่าเสียโอกาสการใช้ที่ดิน และค่าเสียโอกาสเงินลงทุน ซึ่งไม่เป็นเงินสด โดยเป็นค่าเสื่อมราคาโรงเรือนและอุปกรณ์มากที่สุด ด้านต้นทุนผันแปรรวม จำนวน 111.78 บาท/ตัว/รอบการผลิต สำหรับต้นทุนผันแปรที่สำคัญ ประกอบด้วย ค่าอาหาร ร้อยละ 69.66 ค่าพันธุ์ ร้อยละ 12.73 และค่าเสียโอกาสแรงงานครัวเรือนที่ไม่เป็นเงินสด ร้อยละ 10.39 ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไก่แดง พบว่า เกษตรกรนิยมจำหน่ายให้พ่อค้ารวบรวมในท้องถิ่นมากที่สุด ร้อยละ 68.33 เนื่องจากความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและความไว้วางใจ ซึ่งทำการติดต่อซื้อขายกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน รองลงมาคือ จำหน่ายให้แก่พ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกที่มารับซื้อในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 20.00 และช่องทางอื่น ๆ เช่น จำหน่ายให้กับผู้บริโภคในชุมชนโดยตรง หรือร้านอาหารในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 11.67 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
จันทร์คง จ., ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง บ., กะกุลพิมพ์ ไ. ., & ช่วยชูหนู ณ. . (2022). การวิเคราะห์ต้นทุน–ผลตอบแทนและช่องทางการจัดจำหน่ายไก่แดงในพื้นที่ภาคใต้. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 59–65. https://doi.org/10.14456/paj.2022.7
บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Animal Husbandry and Genetic Improvement, Department of Livestock Development. (2021). Dang Surathani chicken. Accessed January 5, 2021. Retrieved from https://breeding.dld.go.th/th/index.php/2018–05–16–07–31–15/2018–05–16–07–48–06/2018–05–16–07–58–49/671–2018–05–21–08–39–03 (in Thai)

Chankong, J. & Chauychu–noo, N. (2021). Production potential and economic, society and environmental impacts of Khaolak Black Bone chicken, Trang Province. Prawarun Agricultural Journal, 18(1), 80–87. (in Thai)

Information and Communication Technology Center, Department of Livestock Development. (2021). Database system for farmers. Accessed October 30, 2021. Retrieved from https://opendata.nesdc.go.th/dataset/d7681470–0120–47ab–8315–5cd28b9539c8/resource/1b116b37–ce19–415d–ae04–dd734add184f/download/–2564.pdf (in Thai)

Laopaiboon, B., Duangjinda, M., Vongpralab, T., Sanchaisuriya, P., Nantachai, K., & Boonkum, W. (2010). Testing of growth performances and meat tenderness in crossbred chicken from Thai indigenous sire and commercial dam. Khon Kaen Agricultural Journal, 38, 373–384. (in Thai)

Nualhnuplong, P., Wattanachant, C., Wattansit, S., & Somboonsuke, B. (2019). Market structure marketing channel and supply chain of Betong chicken in Pattani Yala and Narathiwat provinces. Journal of Agricultural Research and Extension, 36(3), 78–85. (in Thai)

Pongvichai, S. (2008). Statistical data analysis by computer (19th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Prapasawat, C., Laothong, S., Leotaragul, A., Rattanachawanon, P., & Prasert, C. (2012). Economic development of native chicken (Chee–Tha Pra) to response for career of farmers and consumers (Research report). Bangkok: Thailand Research Fund (TRF). (in Thai)

Saenkhunthow, U., Prasert, C., & Nonta, K. (2016). Study on the system of production and marketing of Thai native chicken in Mahasarakham province. Accessed April 15, 2020. Retrieved from http://region4.dld.go.th/webnew/images/stories/vichakarn/04–2–04–60.pdf (in Thai)

Wongsuthavas, S., & Sombun, K. (2009). Feasibility study of the using of native chicken or native hybrid chicken for commercial in community level: Sakon Nakhon province (Research report). Bangkok: Thailand Research Fund (TRF). (in Thai)