การปรับตัวตามแนวปฏิบัติการทำปศุสัตว์ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเกษตรกรฟาร์มโคนมในประเทศไทย

Main Article Content

อลีณฐิฏา คุรุพันธ์
นิโรจน์ สินณรงค์
กฤตวิทย์ อัจฉริยพาณิชย์กุล
วราภรณ์ นันทะเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวตามแนวปฏิบัติการทำปศุสัตว์ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรฟาร์มโคนมในประเทศไทย 5 ด้าน ได้แก่ 1) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2) การจัดการทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 3) การจัดการการให้อาหาร 4) การจัดการของเสียและมูลสัตว์ และ 5) การจัดการด้านสุขภาพสัตว์และโรคติดต่อ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากฟาร์มเกษตรโคนมขนาดกลาง จำนวน 400 ตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เลี้ยงโคนมมากที่สุด ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบ โลจิทเชิงอันดับ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรฟาร์มโคนมกลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวตามแนวปฏิบัติในการทำปศุสัตว์ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาพรวมในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่ส่งผลในการปฏิบัติในระดับที่สูงขึ้น มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ การปรับตัว หากเกษตรกรมีรูปแบบของการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลต่อโอกาสในการปฏิบัติตามแนวการทำปศุสัตว์ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระดับมากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16 อย่างมีนัยสำคัญ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ และปัจจัยด้านสังคม ที่ประกอบด้วย การเข้าร่วมกลุ่มสหกรณ์หรือศูนย์รับน้ำนม การช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากภาครัฐและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร หากเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ครบทั้ง 5 ด้าน จะเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่และสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปศุสัตว์จังหวัดและอำเภอ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจากสหกรณ์หรือศูนย์รับน้ำนมดิบที่เกษตรกรเป็นสมาชิก ควรเข้าไปให้ความรู้เพื่อยกระดับการรับรู้ให้ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนส่งเสริมรูปแบบการปรับตัวตามแนวปฏิบัติในการทำปศุสัตว์ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรเทาและลดการสูญเสียผลผลิตจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

Article Details

How to Cite
คุรุพันธ์ อ., สินณรงค์ น. ., อัจฉริยพาณิชย์กุล ก. ., & นันทะเสน ว. . (2023). การปรับตัวตามแนวปฏิบัติการทำปศุสัตว์ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเกษตรกรฟาร์มโคนมในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(1), 1–10. https://doi.org/10.14456/paj.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

Abbas, Q., Han, J., Adeel, A., & Ullah, R. (2019). Dairy Production under climatic risks: Perception, perceived impacts and adaptations in Punjab, Pakistan. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(20), 4036. doi: 10.3390/ijerph16204036

Barnes, A. P., Islam, M. M., & Toma, L. (2013). Heterogeneity in climate change risk perception amongst dairy farmers: A latent class clustering analysis. Applied Geography, 41, 105-115.doi: 10.1016/j.apgeog.2013.03.011

Chankong, J., & Sittisuntikul, K. (2019). Adaptation of oil palm farmers on climate change-A case study of Surat Thani. Khon Kaen Agriculture Journal, 47(Suppl. 1), 53-58. (in Thai)

Djelailia, H., Bouraoui, R., Jemmali, B., & Najar, T. (2020). Effects of heat stress on reproductive efficiency in Holstein dairy cattle in the North African arid region. Reproduction in Domestic Animals, 55(9), 1250-1257.

El-Tarabany, M. S., Roushdy, E. M., & El-Tarabany, A. A. (2017). Production and health performance of Holstein, Brown Swiss and their crosses under subtropical environmental conditions. Animal Production Science, 57(6), 1137-1143. doi: 10.1071/AN15809

FAO. (2021). Climate-smart livestock production: A practical guide for Asia and the Pacific region. Accessed January 3, 2023. Retrieved from https://www.fao.org/publications/card/en/c/CB3170EN/

Fischer, G., Shah, M., Tubiello, F. N., & Van Velthuizen, H. (2005). Socio-economic and climate change impacts on agriculture: an integrated assessment, 1990-2080. Philosophical Transactions of the Royal Society B: Biological Sciences, 360(1463), 2067-2083. doi:10.1098/rstb.2005.1744

Gbetibouo, G. A. (2009). Understanding farmers' perceptions and adaptations to climate change and variability: The case of the Limpopo Basin, South Africa. Washington, D. C.: International Food Policy Research Institute (IFPRI).

Intergovernmental Panel on Climate Change. (2007). Climate change 2007: The Physical science basis. Contribution of working group I to the fourth assessment report of the intergovernmental panel on climate change. Accessed January 15, 2023. Retrieved from https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/2018/02/ar4-wg1-frontmatter-1.pdf

Jones, A. K., Jones, D. L., Edward-Jones, G., & Cross, P. (2013). Informing decision making in agricultural greenhouse gas mitigation policy: A best-worst scaling survey of expert and farmer opinion in the sheep industry. Environmental Science & Policy, 29, 46–56.

Kurukulasuriya, P., & Mendelsohn, R. (2017). Impact and adaptation of South-East Asian farmers to climate change: Conclusions and policy recommendations. Climate Change Economics, 8(03), 1740007. doi: 10.1142/S2010007817400073

Lamesegn, D. (2018). Review on effects of climate change on livestock production in Ethiopia. Online Journal of Animal and Feed Research, 8(6), 185-189.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed. ). New York: McGraw-Hill.

Sinnarong, N., Pongcharoen, K., Thaeye, K., Phuntulee, S., & Ngampiboonwet, W. (2018). The association of weather variables with rice production and simulation of agro-adaptation measure for northeast Thailand: evidence from panel data model. International Journal of Global Warming, 14(3), 330-355. doi: 10.1504/IJGW.2018.090400

Sinnarong, N., Thaeye, K., Phuntulee, S., Susawaengsup, C., & Aiikulola, O. I. (2019). Impacts of climate change and adaptation simulation for risk reduction of rain-fed rice production in central region. Economics and Public Policy Journal, 10(19), 36-58. (in Thai)

Vongnagnagorn, C., Indratula, T., & Bunyanuwat,

K. (1998). Effect of environmental temperature and humidity on milk production and fertility in Holstein Friesian crossbreed dairy cows. Accessed January 31, 2023. Retrieved from file:///C:/Users/acer/Downloads/KC3602035%20(3).pdf

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed. ). New York: Harper and Row.