ผลของอัตราการพ่นสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมพันธุ์ กรีนโอ๊คที่ปลูกในระบบแอโรพอนิกส์ภายในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ

Main Article Content

อภิชิต กระจ่างเย่า
บุญล้ำ สุนทร
ศศิธร คนทน
ธนภูมิ ศิริงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราการพ่นสารละลายธาตุอาหารในระบบแอโรพอนิกส์ 3 ระดับ ได้แก่ 1) พ่นสารละลายสารละลายธาตุอาหาร 1 นาที หยุด 3 นาที 2) พ่นสารละลายสารละลายธาตุอาหาร 1 นาที หยุด 5 นาที และ 3) พ่นสารละลายสารละลายธาตุอาหาร 1 นาที หยุด 7 นาที อย่างต่อเนื่องภายในโรงเรือนที่มีขนาด 1.38 × 2.00 × 2.32 เมตร (กว้าง × ยาว × สูง) โดยภายในโรงเรือนมีอุณหภูมิเฉลี่ย เท่ากับ 28.20 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย เท่ากับ 65.50 เปอร์เซ็นต์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) จํานวน 3 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ละ 4 ซ้ำ จากการศึกษาพบว่าการพนสารละลายธาตุอาหารนาน 1 นาที หยุด 3 นาที มีจำนวนใบ ความสูง น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้น น้ำหนักสดราก และน้ำหนักแห้งรากของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คมากที่สุด เท่ากับ 33.38±1.01 ใบ, 10.50±0.85 เซนติเมตร, 69.96±3.58 กรัม, 3.45±0.11 กรัม, 19.09±0.39 กรัม และ 0.98±0.02 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่ความกว้างทรงพุ่มและความยาวรากมากที่สุด เท่ากับ 20.25±0.25 เซนติเมตร และ 73.50±1.66 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อได้รับการพนสารละลายธาตุอาหารนาน 1 นาที หยุด 5 นาที

Article Details

How to Cite
กระจ่างเย่า อ. ., สุนทร บ., คนทน ศ. ., & ศิริงาม ธ. . (2023). ผลของอัตราการพ่นสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมพันธุ์ กรีนโอ๊คที่ปลูกในระบบแอโรพอนิกส์ภายในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(1), 120–128. https://doi.org/10.14456/paj.2023.15
บท
บทความวิจัย

References

Awalina, R., Erona, M., & Rusnam. (2022). Lettuce (Lactuca sativa L) growth in aeroponic systems withdifferences in nutritional time. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science, 1059, 012014.. doi:10.1088/1755-1315/1059/1/012014

El-Helaly, M. A., & Darwish, O. S. (2019). Effect of culture system; aeroponic, hydroponic and sandy substrate on growth, yield and chemical compositions of lettuce. Plant Archives, 19(2), 2543-2550.

Laksono, R. A. (2021). Interval waktu pemberian nutrisi terhadap produksi tanaman selada hijau (Lactuca sativa L.) varietas new grand rapid pada sistem aeroponik. Paspalum Jurnal Ilmiah Pertanian, 9(1),1. doi: 10.35138/paspalum.v9i1.194

Li, Q., Li, X., Tang, B., & Gu, M. (2018). Growth responses and root characteristics of lettuce grown in aeroponics, hydroponics, and substrate culture. Horticulturae, 4(4),35. doi: 10.3390/horticulturae4040035

Pengaruh nutrisi mix dan media tanam berbeda terhadap pertumbuhan dan produksi tanaman selada (Lactuca Sativa) secara hidroponikvdengan sistem wick. BERNAS Agricultural Research Journal,15(1), 82-90.

Resh, H. M. (2022). Hydroponic food production: A definitive guidebook for the advanced home gardener and the commercial hydroponic grower (8th ed.). Boca Raton, Florida: CRC Press.

Ruamrungsri, S., Phornsawatchai, T., & Jaidee, A. (2005). Effect of plant supporting models and spraying rate on growth of lettuce in aeroponics. Journal of Agriculture, 21(3), 241-249. (in Thai)

Siringam, K., Theerawipa, K., & Hlaihakhot, N. (2014). Effect of nutrient solution on growth of lettuce (Lactuca sativa L.) cultivated under hydroponic system. Thai Science and Technology Journal, 22(6),828-836. (in Thai)

Subandi, A., & Muhammad, W. (2016). Rancang bangun sistem aeroponik secara otomatis berbasis mikrokontroler. Accessed December 16, 2022. Retrieved from https://ejournal.itn.ac.id/index.php/seniati/article/view/476

Tunio, M. H., Gao, J., Qureshi, W. A., Sheikh, S. A., Chen, J., Chandio, F. A., Lakhiar, I. A., & Solangi, K. A. (2022). Effects of droplet size and spray interval on root-to-shoot ratio, photosynthesis efficiency, and nutritional quality of aeroponically grown butterhead lettuce. International Journal of Agricultural and Biological Engineering, 15(1),79-88