การออกแบบและพัฒนาเครื่องสางตีใยสังเคราะห์แบบกึ่งอัตโนมัติ

Main Article Content

ปิยะพงษ์ สิงห์บัว
รักพงษ์ ขันธวิธิ
สวาส อาจสาลี
อนุรักษ์ มะโนมัย
ชลดา ยอดยิ่ง
กันตพงษ์ แข้โส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องสางตีใยสังเคราะห์แบบกึ่งอัตโนมัติต้นแบบขนาดเล็ก เพื่อลดปัญหาหลักของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอผลิตหมอนและผ้าห่มของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหมอนฟักทอง อ.ส.ม. หมอนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ตั้งอยู่เลขที่ 21 หมู่ 1 บ้านลาด ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ในส่วนของกระบวนการสางตีใยสังเคราะห์ โดยใช้เครื่องสางตีใยสังเคราะห์แบบกึ่งอัตโนมัติขนาด 142 x 229 x 130 เซนติเมตร สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย มีการทดสอบปัจจัยที่เหมาะสมของเครื่อง คือ ความเร็วรอบการหมุนของชุดตีใย 4 ระดับ ได้แก่ 250, 300, 350 และ 400 รอบต่อนาที มีค่าชี้ผลการทดสอบคือ 1) ความสามารถในการทำงาน (กิโลกรัมต่อชั่วโมง) 2) ประสิทธิภาพในการทำงาน (ร้อยละ) และ 3) ความหนาแน่นของเส้นใย (กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) จากการทดสอบ พบว่า ความสามารถการทำงาน 42.40±0.80 – 51.40±0.50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มีประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 92.50±0.69 - 97.10±1.34 ขึ้นอยู่กับความเร็วรอบลูกกลิ้งสางตีใยที่ปรับตั้ง โดยเมื่อปรับให้ความเร็วลูกกลิ้งสูง ยิ่งทำให้ความสามารถการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งความหนาแน่นของเส้นใยสางสูงขึ้นตาม แต่ก็ส่งผลให้การใช้พลังงานสูงขึ้นด้วยเช่นกัน อยู่ที่ 71.40±0.50 – 94.80±0.40 วัตต์ต่อกิโลกรัม นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานคน เครื่องสางตีใยสังเคราะห์แบบกึ่งอัตโนมัติต้นแบบมีความสามารถในการทำงานมากกว่าแรงงานคนอยู่ที่ 5 เท่า สามารถลดการจ้างแรงงาน 3 คน ลดต้นทุนการผลิต 180,000 บาท และเป็นการเพิ่มรายได้จากยอดขาย 270,000 บาท จากเดิม 120,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น 2.25 เท่า จุดคุ้มทุนของเครื่องอยู่ที่ 2 ปี

Article Details

How to Cite
สิงห์บัว ป. ., ขันธวิธิ ร. ., อาจสาลี ส. ., มะโนมัย อ. ., ยอดยิ่ง ช. ., & แข้โส ก. . (2023). การออกแบบและพัฒนาเครื่องสางตีใยสังเคราะห์แบบกึ่งอัตโนมัติ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(1), 151–158. https://doi.org/10.14456/paj.2023.19
บท
บทความวิจัย

References

Amaroek, S. (2017). Research and development on carding machines for cotton fiber. Accessed May 6, 2023. Retrieved from https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2847

Community Enterprise Promotion Division Department of Agricultural Extension. (2017). Community enterprise information system. Accessed May 6, 2023. Retrieved from https://smce.doae.go.th/product_detail.php?smce_id=444040810001&ps_id=5508

Cultural Information Center. (2023). Ban-Lao-Charoenrat hand-woven silk. Accessed May 6, 2023. Retrieved from http://www.m-culture.in.th/album/197808

Data Center and Digital Industry. (2022). Situation of Thai textile and garment industry in July 2022. Accessed May 6, 2023. Retrieved from https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.3203.1.0.html

Janyatham, J., & Sikka, P. (2012). The development of nipa palm fiber for use in product design. Art and Architecture Journal Naresuan University, 3(1), 94-104.

JINPIINCHEEYEA. (2020). Each type of pillow filling. Accessed May 6, 2023. Retrieved from https://jinpiin.com/pillow-tips/pillow-filling-types/

Pillow Smile. (2019). Filling stuffing for pillows. Accessed May 6, 2023. Retrieved from https://xn--m3cihvs1bp6c.com/

Product database. (2023). Lao-Wiang-Ban-Khong-Phatthana Community Enterprise Group. Accessed May 6, 2023. Retrieved from http://www.arts.su.ac.th/crafttown/index.php/ entrepreneur-information/entrepreneur-ratchaburi/41-laowieng-bankhongpattana?showall=&start=6Rattanakamnuan, U. (2014). IC 361 fiber and fabric science. Accessed May 6, 2023. Retrieved fromhttp://www.science.mju.ac.th/chemistry/download/u_ratanakamnuan/IC%20361%20%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B21-57.pdf

Umasiln, N., & Utiswannakul, P. (2018). Innovative textiles from etlingera elatior fibers to design lifestyle. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 11(3), 803-814.

Wongkasem, S., & Aksornpim, P. (2015). The Development of a carding machine and a twisting silk machine for Eri silk. Procedia Engineering, 100, 801-806. doi: 10.1016/j.proeng.2015.01.434