ผลการเสริมกรดอินทรีย์ แก่นตะวัน และการใช้ร่วมกันในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่

Main Article Content

เจษฎา รัตนวุฒิ
บดี คำสีเขียว
อุมาพร แพทย์ศาสตร์
อารีรัตน์ ทศดี

บทคัดย่อ

จากการประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ จึงจำเป็นต้องหาสารเสริมที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดหรือทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบผลของการเสริมกรดอินทรีย์รวม แก่นตะวัน และการใช้ร่วมกันในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ การทดลองใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และใช้ไก่ไข่พันธุ์ไฮเซก-บราวน์ อายุ 70 สัปดาห์ จำนวน 32 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 4 ซ้ำ ๆ ละ 2 ตัว โดยใช้อาหารในการทดลอง ดังนี้ 1) อาหารควบคุม 2) อาหารควบคุม + กรดอินทรีย์รวม 0.3 % 3) อาหารควบคุม + แก่นตะวัน 1 % 4) อาหารควบคุม + กรดอินทรีย์รวม 0.3 % + แก่นตะวัน 1 % ทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการบันทึกน้ำหนักตัว ผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ มวลไข่ ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ และตรวจสอบคุณภาพไข่ในวันสุดท้ายของการทดลอง ผลการทดลองพบว่า การเสริมกรดอินทรีย์ และการเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตไข่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p = 0.059) การเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันมีผลทำให้มวลไข่เพิ่มขึ้นมากที่สุด (p < 0.05) ในด้านคุณภาพไข่ พบว่า การใช้สารเสริมทุกกลุ่มมีแนวโน้มทำให้ความหนาเปลือกไข่เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p = 0.075) การเสริมกรดอินทรีย์ และการเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันมีผลทำให้ความแข็งแรงของเปลือกไข่เพิ่มขึ้น (p < 0.01) ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเสริมกรดอินทรีย์ร่วมกับแก่นตะวันในอาหารไก่ไข่มีผลช่วยเพิ่มสมรรถภาพการผลิตไข่ การเสริมกรดอินทรีย์เพียงอย่างเดียวและการใช้ร่วมกับแก่นตะวันมีผลทำให้คุณภาพของเปลือกไข่เพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
รัตนวุฒิ เ. ., คำสีเขียว บ. ., แพทย์ศาสตร์ อ. ., & ทศดี อ. . (2024). ผลการเสริมกรดอินทรีย์ แก่นตะวัน และการใช้ร่วมกันในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(1), 130–135. https://doi.org/10.14456/paj.2024.14
บท
บทความวิจัย

References

Cornescu, G. M., Panaite, T. D., Soica, C., Cismileanu, A., & Matache, C. C. (2023). Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) as a promising dietary feed ingredient for monogastric farm animals. Applied Sciences, 13(23), 12748. doi: 10.3390/app132312748

Khan, S. H., & Iqbal, J. (2016). Recent advances in the role of organic acids in poultry nutrition. Journal Applied Animal Research, 44(1), 359–369. doi: 10.1080/09712119.2015.1079527

Marinho, M. C., Lordelo, M. M., Cunha, L. F., & Freire, J. P. B. (2007). Microbial activity in the gut of piglets: I. effect of prebiotic and probiotic supplementation. Livestock Science, 108(1-3), 236-239. doi: 10.1016/j.livsci.2007.01.081

Nabizadeh, A. (2012). The effect of inulin on broiler chickenintestinal microflora, gut morphology, and performance. Journal of Animal and Feed Sciences, 21(4), 725-734. doi:10.22358/jafs/66144/2012

Ogunwole, O. A., Abu, O. A., & Adepoju, I. A. (2011). Performance and carcass characteristics of broiler finishers fed acidifier based diets. Pakistan Journal of Nutrition, 10(7), 631-636. doi: 10.3923/pjn.2011.631.636

Shalaei, M., Hosseini, S. M., & Zergani, E. (2014). Effect of different supplements on eggshell quality, some characteristics of gastrointestinal tract and performance of laying hens. Veterinary Research Forum, 5(4), 277-286. doi: PMID25610579

Soltan, M. A. (2008). Effect of dietary organic acid supplementation on egg production, egg quality, and some blood serum parameters in laying hens. International Journal of Poultry Science, 7(6), 613–621. doi: 10.3923/ijps.2008.613.621

Srikijkasemwat, K., Klompanya, A., Sitthigripong, R., & Thammakarn, C. (2021). Effects of Jerusalem artichoke powder supplementation in diet on production performance and carcass quality of broiler. Journal of Mahanakorn Veterinary Medicine, 16(2), 247-255. (in Thai)

Sritiawthai, E., Kaewtapee, C., Bunchasak, C., & Poeikhampha, T. (2013). Effect of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) supplementation on production performances, egg quality characteristics and intestinal microflora of laying hens. Journal of Applied Sciences, 13(1), 183-187. doi: 10.3923/jas.2013.183.187

Świątkiewicz, S., Koreleski, J., & Arczewska, A. (2010). Laying performance and eggshell quality in laying hens fed diets supplemented with prebiotics and organic acids. Czech Journal of Animal Science, 55(7), 294-306. doi: 10.17221/207/2009-CJAS

Thiese, M. S., Ronna, B., & Ott, U. (2016). P value interpretations and considerations. Journal of Thoracic Disease, 8(9), 928-931. doi: 10.21037/jtd.2016.08.16

Yildiz, G., Sacakli, P., & Gungor, T. (2006). The effect of dietary Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) on performance, egg quality characteristics and egg cholesterol content in laying hens. Czech Journal of Animal Science, 51(8), 349-354. doi: 10.17221/3950-CJAS.