ผลของการใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโภชนะและประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ส่วนท้ายของลูกสุกรหลังหย่านม

Main Article Content

กันต์ปิติภัทร จิตอารี
รัชนี บัวระภา
ศลิษา โคตุพันธุ์
ภูวดล บินสุหลง
ศิวพงศ์ เลื่อนราม
วุฒิกร สระแก้ว
https://orcid.org/0000-0003-3208-220X

บทคัดย่อ

ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาคือผักตบชวาที่ดัดแปลงร่วมกับจุลินทรีย์ย่อยเยื่อใยทำให้มีค่าโปรตีนสูงขึ้นและเยื่อใยต่ำลง สามารถใช้ในอาหารสุกรได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโภชนะและประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ส่วนท้ายของลูกสุกรหลังหย่านม ใช้สุกรลูกผสมสายพันธุ์ (ลาร์จไวท์-แลนด์เรซ) เพศผู้ จำนวน 24 ตัว (น้ำหนักเฉลี่ย 10.2±3.41 กิโลกรัม) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 4 ทรีตเมนต์ ๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ ทรีตเมนต์ที่ 1 คือ สูตรอาหารควบคุม (ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวา 0 % ทรีตเมนต์ที่ 2 3 และ 4 คือ สูตรอาหารที่ใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวา 5 10 และ 15 % ตามลำดับ ทำการทดลอง 60 วัน ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ การย่อยได้ของวัตถุแห้งและการย่อยได้ของโปรตีนมีค่าลดลงที่ระดับการใช้ 15 % (P < 0.01) ขณะที่ระดับการใช้ 5 และ 10 % มีค่าไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (P > 0.05) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตต่อวันมีค่าสูงขึ้นที่ระดับการใช้ 5 % (P = 0.07) แต่มีค่าลดลงที่ระดับการใช้ 15 % (P<0.01) ส่งผลทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวมีค่าลดลงต่ำสุดที่ระดับการใช้ 5 % (P < 0.05) แต่มีค่าเพิ่มสูงขึ้นที่ระดับ 15 % (P < 0.01) ต้นทุนค่าอาหารต่อการเจริญเติบโตมีค่าไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) อย่างไรก็ตามมีค่าเฉลี่ยลดลง 0.9-1.4 บาทต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวา 5-15 % การใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาส่งผลให้จำนวนแบคทีเรียกรดแลคติคในลำไส้ส่วนท้ายสูงขึ้น (P<0.01) ขณะที่จำนวน E. coli และจุลินทรีย์รวมไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) แสดงให้เห็นว่า สามารถใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาในสูตรอาหารลูกสุกรหลังหย่านมได้ โดยที่ระดับการใช้ 5 % น่าจะเป็นระดับที่เหมาะสมและส่งผลดีต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต

Article Details

How to Cite
จิตอารี ก., บัวระภา ร., โคตุพันธุ์ ศ., บินสุหลง ภ., เลื่อนราม ศ. ., & สระแก้ว ว. (2024). ผลของการใช้ไฟโบร-ไบโอติคจากผักตบชวาในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต การย่อยได้ของโภชนะและประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ส่วนท้ายของลูกสุกรหลังหย่านม. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(1), 230–237. https://doi.org/10.14456/paj.2024.27
บท
บทความวิจัย
Author Biography

วุฒิกร สระแก้ว, สาขาวิชาสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน

-

References

Association of Official Analytical Chemists (AOAC). (1995). Official method of analysis (16th ed.). Washington D.C, United States: Association of Official Analytical Chemist.

Association of Official Analytical Chemists (AOAC). (2000). Official methods of analysis (17th ed.). Arlington, Virginia, United States: Association of Official Analytical Chemists.

Bai, K., Huang, Q. Zhang, J., He, J., Zhang, J., & Wang, T. (2017). Supplemental effects of probiotic Bacillus subtilis fmbJ on growth performance, antioxidant capacity, and meat quality of broilers chickens. Poultry Science, 96(1), 74–82. doi:10.3382/ps/pew246

Bureenok, S., Tamaki, M., Kawamoto, Y., & Nakada, T. (2007). Additive effects of green tea on fermented juice of the epiphytic lactic acid bacteria (FJLB) and the fermentative quality of Rhodesgrass silage. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences, 20(6), 920-924. doi:10.5713/ajas.2007.920

Giannenas, I., Tontis, D., Tsalie, E., Chronis, E. F., Doukas, D., & Kyriazakis, I. (2010). Influence of dietary mushroom Agaricus bisporus on intestinal morphology and microflora composition in broilers chickens. Research in Veterinary Science, 89(1), 78-84. doi: 10.1016/j.rvsc.2010.02.003

Kuprys-Caruk, M., Chabłowska, B., Michalczuk, M., & Stefanska, I. (2019). Comparison of the effect of lactic acid bacteria added to feed or water on growth performance, health status and gut microbiota of chickens broilers. Annals of Warsaw University of Life Sciences – SGGW Animal Science, 58(1), 55–67. doi:10.22630/AAS.2019.58.1.7

Makivic, L., Glisic, M., Boskovic, M., Djordjevic, J., Markovic, R., Baltic, M., & Sefer, D. (2019). Performances, ileal and cecal microbial populations and histological characteristics in broilers fed diets supplemented with lignocellulose. Kafkas Universitesi Veteriner Fakultesi Dergisi, 25(1), 83-91. doi:10.9775/kvfd.2018.20356

Mako, A. A., Banjo, O. S., & Akinwande, V. O. (2012). Nutritive evaluation and acceptability of two aquatic weeds (Eichhornia crassipes and Acroceras zizanioides) by West African dwarf goats. African Journal of Agricultural Research, 7(19), 3007-3013. doi: 10.5897/AJAR11.1379

Mountzouris, K. C., Tsirsikos, P., Palamidi, I., Arvanniti, A., Mohnl, M., Schatmayr, G., & Fegeros, K. (2010). Effect of probiotic inclusion levels in broilers nutrition on growth performance, nutrient digestibility, plasma immunoglobulin, and cecal microflora composition. Poultry Science, 89(1), 58-67. doi: 10.3382/ps.2009-00308

Raunghora, N., Chaiwong, S., Jintanuworakul, K., Chaiyasaen, N., Sintala, K., Bourapa, R., & Srakaew, W. (2024). Supplementation of natural symbiotic from cocoa husk silage on production performance and egg quality in laying hen. Proceedings of the 4th The virtual international conference on science and agricultural technology for students 2024 (VICSAT 2024) (p. 11). Chiang Mai, Thailand: Rajamangala University of Technology Lanna. (in Thai)

Sharifi, S. D., Dibamehr, A., Lotfollahian, H., & Baurhoo, B. (2012). Effects of flavomycin and probiotic supplementation to diets containing different sources of fat on growth performance, intestinal morphology, apparent metabolizable energy, and fat digestibility in broiler chickens. Poultry Science, 91(4), 918-927. doi: 10.3382/ps.2011-01844

Statistical Analysis System (SAS). (1998). User's guide: Statistic, version 6 (12th ed). Cary North Carolina, United States: SAS Institute Inc.

Tongnum, A., Srakaew, W., & Insoongnern, H. (2024). Effect of using bio-feed ingredient from water hyacinth (Eichhornia crassipes Mart) to optimize rumen fermentation in vitro gas technique. Proceedings of the 4th The virtual international conference on science and agricultural technology for students 2024 (VICSAT 2024) (p. 12). Chiang Mai, Thailand: Rajamangala University of Technology Lanna. (in Thai)

Wenk, C. (2001). The role of dietary fibre in the digestive physiology of the pig. Animal Feed Science and Technology, 90(1-2), 21-33. doi:10.1016/S0377-8401(01)00194-8

Zhou, X., Wang, Y., Gu, Q., & Li, W. (2010). Effect of dietary probiotic, Bacillus coagulans, on growth performance, chemical composition, and meat quality of Guangxi yellow chicken. Poultry Science, 89(3), 588-593. doi: 10.3382/ps.2009-00319