เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำของเกษตรกรตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ศตวรรณ คงสมจิตต์
สุพัตรา ศรีสุวรรณ
ปรีดา สามงามยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลและด้านเศรษฐกิจ 2) ระดับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำ 3) ความคิดเห็นที่มีต่อเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นที่มีต่อเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำตามลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลและด้านเศรษฐกิจ และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความคิดเห็นที่มีต่อเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขึ้นน้ำในตำบลพิตเพียน จำนวน 127 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t–test F–test วิเคราะห์ LSD สำหรับทดสอบความแตกต่างรายคู่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.30 อายุเฉลี่ย 56.93 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 52.80 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.94 คน พื้นที่ปลูกข้าวขึ้นน้ำเฉลี่ย 27.32 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่า ร้อยละ 42.50 ประสบการณ์ในการปลูกข้าวขึ้นน้ำเฉลี่ย 21.02 ปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 80 เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.07 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็น พบว่าประสบการณ์ในการปลูกข้าวขึ้นน้ำแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำโดยรวมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความคิดเห็น พบว่าด้านกระบวนการผลิต ความรู้กับความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำ มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

Article Details

How to Cite
คงสมจิตต์ ศ. ., ศรีสุวรรณ ส. ., & สามงามยา ป. . (2024). เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวขึ้นน้ำของเกษตรกรตำบลพิตเพียน อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(2), 63–68. https://doi.org/10.14456/paj.2024.37
บท
บทความวิจัย

References

Department of Agricultural Extension. (2023). Annual operational plan for 2024 of the epartment of Agricultural Extension, Accessed May 13, 2024. Retrieved from https://d29iw4c1csrw3q.cloudfront.net/wp-content/uploads/2023/03/annual operational plan-2024.pdf (in Thai)

Department of Agricultural Extension. (2020). Guide to promoting the cessation of burning in agricultural Areas. Bangkok, Thailand: New Thammada Press (Thailand) Co., LTD. (in Thai)

Kongjan, K., Treewannakul, P., & Rengkwunkway, M. (2021). Management of rice stubble and straw of farmers in project of extension for stop burning at agri-area in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Agricultural Science Journal, 52(1), 20–31. (in Thai)

Maharat District Agricultural Extension Office. (2023). Pitapian Subdistrict agricultural development plan. Accessed February 10, 2024. Retrieved form https://ayutthaya.doae.go.th/maharat/?page_id=2782. (in Thai)

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2024). Microbial activator PD2 Land Development Department, Decomposed rice stubble, reduce costs, add nutrients and prepare soil before planting. Accessed May 15, 2024. Retrieved from https://www.moac.go.th/news-preview-461391791794. (in Thai)

Niyamangkoon, S. (2013). Research methods in social science and statistics used. Bangkok, Thailand: Tanbundit Co., LTD. (in Thai)

Oskamp, S., & Schultz, W. P. (1977). Attitude and opinion, New Jersy, United States: Englewood Cliffs.

Triandis, H. C. (1971). Attitude and attitude change (foundations of social psychology). New Jersy, United States:: John Wileys & Sons Inc.

Yamdeeka, C., Nakayan, P., Konsaeng, S., Areesrisom, P., & Nilawonk. (2022). Influence of bio-extracts on decomposition and chemical property changes of rice straw. Khon Kean Agriculture Journal, 50(6), 1797-1807. (in Thai) doi: 10.14456/kaj.2022.145