ผลการใช้เมล็ดหญ้าข้าวนกในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของเป็ดเทศกบินทร์บุรี

Main Article Content

ครวญ บัวคีรี
กล้าหาญ สุวรรณคีรี
สชากร สกุลวงศ์วิริยะ
ณัฐวุฒิ เหมโคกน้อย
ปิยะนันท์ นวลหนูปล้อง
สันติ หมัดหมัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เมล็ดหญ้าข้าวนกในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของเป็ดเทศกบินทร์บุรี โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design; CRD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มการทดลอง ได้แก่ อาหารผสมเมล็ดหญ้าข้าวนก 0, 5, 9 และ 13 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร ใช้เป็ดเทศกบินทร์บุรีคละเพศ อายุ 6 สัปดาห์ จำนวน 132 ตัว แต่ละกลุ่มมี 3 ซ้ำ ๆ ละ 11 ตัว ระยะเวลาทำการทดลอง 42 วัน ผลการศึกษาพบว่าตลอดช่วงอายุ 6-12 สัปดาห์ เป็ดเทศกบินทร์บุรีที่ได้รับอาหารผสมเมล็ดหญ้าข้าวนกที่ระดับ 5, 9 และ 13 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อตัวต่อวัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก และต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่ม 1 กิโลกรัม ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่มควบคุม (P > 0.05) อย่างไรก็ตามปริมาณอาหารที่กินของเป็ดเทศกบินทร์บุรีที่ได้รับอาหารผสมเมล็ดหญ้าข้าวนก 13 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหาร สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารผสมเมล็ดหญ้าข้าวนก 0, 5 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าเป็ดเทศกบินทร์บุรีที่ได้รับอาหารผสมเมล็ดหญ้าข้าวนกทั้ง 3 สูตร มีแนวโน้มต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักที่เพิ่ม 1 กิโลกรัม ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P > 0.05) ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสามารถใช้เมล็ดหญ้าข้าวนกได้ถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารโดยไม่มีผลกระทบต่อน้ำหนักส่งตลาดของเป็ดเทศกบินทร์บุรี

Article Details

How to Cite
บัวคีรี ค., สุวรรณคีรี ก. ., สกุลวงศ์วิริยะ ส. ., เหมโคกน้อย ณ. ., นวลหนูปล้อง ป. ., & หมัดหมัน ส. . (2024). ผลการใช้เมล็ดหญ้าข้าวนกในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของเป็ดเทศกบินทร์บุรี. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(2), 153–158. https://doi.org/10.14456/paj.2024.48
บท
บทความวิจัย

References

Chimliang, T., & Luangvaree, P. (2020). Effect of the use of Ground Khaohom Mae Phaya Tongdam Paddy rice in diets on productive performance of native crossbred chicken. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 14(2), 192-203. (in Thai)

Department of Livestock Development. (2002). Raising of Kabinburi Muscovy Duck. Bangkok, Thailand: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Publisher. (in Thai)

Nutrient Requirements Council (NRC). (1994). Nutrient requirements of poultry (9th ed.). Washington, D. C., United States: National Academy Press.

Pinsupa, J., Chindakul, A., Tanutong, A., Mahawong, T., & Intanon, S. (2022). Relationship between morphology characteristics of Barnyardgrass (Echinochloa crus-galli (L.) Beauv) and Quinclorac resistance. Thai Agricultural Research Journal, 40(1), 59-71. (in Thai) doi: 10.14456/thaidoa-agres.2022.5

Rodrigues, P. B., Junior, W. M. D., Rostagno, H. S., & Rodrigues, K. F. (2004). Energy values and digestible amino acids of Barnyardgrass seeds (Echinochloa spp.) for poultry. Revista Brasileira de Zootecnia, 33(5), 1192-1196. doi: 10.1590/S1516-35982004000500011

Statistical Analysis System (SAS). (1998). SAS User’s guide. version 6.12. North Carolina, United States: SAS Institute Inc.

Tangtaweewipat, S., Chava-Isarakul, B., Wongrueng, B., & Ya-thep, N. (1996). The use of high fiber diets in poultry. ChiangMai, Thailand: Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Chiangmai University. (in Thai)

Weed Science Society of Thailand. (2002). Common weeds of central Thailand. Accessed August 3, 2023. Retrieved from https://anyflip.com/xflkp/tauf. (in Thai)

Yu, J., Zhang, H., Yang, H. M., & Wang, Z. Y. (2022). Effects of dietary paddy rice on growth performance, carcass traits, bare skin color, and nutrient digestibility in geese. Poultry Science, 101(6), 101865. doi: 10.1016/j.psj.2022.101865