การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดไข่มุกจากผลไม้โดยวิธีการพื้นที่ตอบสนอง

Main Article Content

นันทา เป็งเนตร์
วิภา ประพินอักษร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเม็ดไข่มุกจากผลไม้โดยการแปรผันปริมาณแป้งเท้ายายม่อมแทนการใช้แป้งมันสำปะหลังในอัตราส่วนร้อยละ 0-20 เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผลไม้ในการพัฒนาสูตรเม็ดไข่มุกโดยใช้การทดลองแบบผสมที่กำหนดปัจจัยแบบไม่กำหนดช่วง ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ สับปะรด (ร้อยละ 0-100) กล้วยน้ำว้า (ร้อยละ 0-100) และฝรั่ง (ร้อยละ 0-100) รวมน้ำหนักทั้ง 3 ส่วน คิดเป็นร้อยละ 10 ของสูตรที่เติมลงในส่วนผสมของเม็ดไข่มุกและศึกษาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุดท้าย ผลการศึกษาพบว่าการแปรผันปริมาณแป้งมันสำปะหลังและแป้งเท้ายายม่อมมีผลต่อคุณลักษณะค่าความแข็งและความยืดหยุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) การใช้แป้งเท้ายายม่อมอัตราร้อยละ 15 เพื่อทดแทนแป้งมันสำปะหลังในสูตรส่งผลทำให้ค่าความแข็ง ความยืดหยุ่น ค่าสี L* a* และ b* สูงสุดเท่ากับ 22.22 g ร้อยละ 64.85 23.0 2.08 และ 7.63 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์พื้นที่ตอบสนองแสดงให้เห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจของค่าความแข็ง ค่าความยืดหยุ่น ค่าสี L* a* และ b* เท่ากับ 0.9859 0.9991 0.9980 0.7226 และ 0.9749 ตามลำดับ สูตรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการพัฒนาเม็ดไข่มุกจากผลไม้ คือ สับปะรดร้อยละ 19.50 กล้วยน้ำว้าร้อยละ 29.57 และฝรั่งร้อยละ 50.93 ในด้านคุณค่าทางโภชนาการของเม็ดไข่มุกผลไม้ 100 กรัม พบว่ามีพลังงานทั้งหมด 149.76 กิโลแคลอรี โปรตีนร้อยละ 3.27 ไขมันร้อยละ 1.11 เส้นใยร้อยละ 3.60 และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 30.99 คุณภาพทางจุลินทรีย์พบว่ามีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ปริมาณยีสต์และรา น้อยกว่า 103 CFU/g และ 10 CFU/g ตามลำดับ อย่างไรก็ตามตรวจไม่พบ E.coli ในผลิตภัณฑ์

Article Details

How to Cite
เป็งเนตร์ น. ., & ประพินอักษร ว. . (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดไข่มุกจากผลไม้โดยวิธีการพื้นที่ตอบสนอง. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 21(2), 218–227. https://doi.org/10.14456/paj.2024.55
บท
บทความวิจัย

References

Association of Official Analytical Chemists AOAC. (2000). Official methods of analysis (17th ed.). Maryland, United States: Association Official Analytical Chemists.

Chantachoti, T. (2009). Dietary fiber of selected Thai fruits: chemical compositions, and associated antioxidant capacity. Thailand Science Research and Innovation. Accessed October 23, 2024. Retrieved from https://elibrary.tsri.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5120067 (in Thai)

Derringer, G., & Suich, R. (1980). Simultaneous optimization of several response variables. Journal of Quality Technology, 12(4), 214-219. doi: 10.1080/00224065.1980.11980968

Jiménez-Escrig, A., & Sánchez-Muniz, F. J. (2000). Dietary fibre from edible seaweeds: chemical structure, physicochemical properties and effects on cholesterol metabolism. Nutrition Research, 20(4), 585-598. doi: 10.1016/S0271-5317(00)00149-4

Ketthongkam, P. (2023). The adhesion of starch to water chestnut in Tup Tim Grob (coated water chestnut pieces in coconut milk). Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(6), 95-110. (in Thai)

Kutner, M., Nachtsheim, C., Neter, J., & Li, W. (2004). Applied linear statistical models (5th ed.). New York , United States: McGraw-Hill/Irwin.

Mahe, N., Awapak, D., & Pichairat, D. (2015). Optimization of high protein content protein hydrolysate extraction from hard clam (Meretrix casta) using response surface methodology. KKU Science Journal, 43(3), 425–438. (in Thai)

Malki, M. S. K., Wijesinghe, J. A. A. C., Ratnayake, R. H. M. K., & Thilakarathna, G. C. (2023). Characterization of arrowroot (Maranta arundinacea) starch as a potential starch source for the food industry. Heliyon, 9(9), e20033. doi: 10.1016/j.heliyon.2023.e20033

Montgomery, D. C. (2013). Design and analysis of experiments (8th ed.). New Jersey: United States: John Wiley & Sons, Inc.

Rattanajarusroj, T., & Srijesdaruk, V. (2015). Effect of processing conditions on resistance starch content from tapioca starch. Accessed October 23, 2024. Retrieved from https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2015/G2-20.pdf

Rittiruengdej, P. (2003). Physical and chemical properties of arrowroot flour and its use in layer snacks (Master's thesis). Bangkok, Thailand: Kasetsart University. (in Thai)

Sangyojarn, P., Sangketkit, C., Kiatsakared, P., Namasthisong, T., Sarthiyakul, N., & Sanuksan, J. (2022). Physio-chemical properties of Tao Yai Mom flour and sensory properties of product. Accessed October 23, 2024. Retrieved from https://ird.rmuti.ac.th/2015/files/2562/File/

United States Department of Agriculture (USDA). (2019). Tapioca, pearl, dry. Food data central. Accessed December 1, 2024. Retrieved from https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/169717/nutrients