การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปและรูปแบบการผลิตของเกษตรกรรุ่นใหม่ ในจังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดมหาสารคาม และ (3) วิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 77 ราย การวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (Data envelopment analysis : DEA) โดยวิเคราะห์ด้านปัจจัยการผลิต (Input- oriented approach) ภายใต้ข้อสมมติผลตอบแทนต่อขนาดผันแปร (Variable Return to Scale: VRS) จากนั้นได้นำระบบสมการ Tobit Regression Model มาวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความมีประสิทธิภาพการดำเนินงานฟาร์ม ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในฟาร์มมีจำนวน 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.8 และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพการดำเนินงานฟาร์ม พบว่า ความมีประสิทธิภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่มาจาก 5 ปัจจัยหลัก คือ รายได้รวม (LNIA) ประสบการณ์ทำการเกษตร (LNEXP) ค่าจ้างแรงงานในครัวเรือน (LNLF) รายจ่ายด้านต้นทุนคงที่ (LNTFC) และการใช้เทคโนโลยีในการผลิต (TECHPRO)