การเสริมก้อนเชื้อเห็ดนางรมฮังการีเหลือทิ้งในอาหารไก่เนื้อต่อการย่อยได้แบบปรากฏของโภชนะจุลินทรีย์ในซีกัม สัณฐานวิทยาของลำไส้เล็ก สมรรถภาพการผลิต ลักษณะซาก คุณภาพและองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองนี้มุ่งศึกษาผลการเสริมก้อนเชื้อเห็ดนางรมฮังการีเหลือทิ้ง (spent oyster mushroom substrate: SOMS) ในอาหารไก่เนื้อต่อการย่อยได้แบบปรากฏของโภชนะ จุลินทรีย์ในซีกัม จุลกายวิภาคของลำไส้เล็ก สมรรถภาพการผลิต ลักษณะซาก คุณภาพและองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ โดยใช้ไก่พันธุ์ Ross 308® จำนวน 480 ตัว (เพศผู้ 240 ตัว และ เพศเมีย 240 ตัว) ทำการเลี้ยงไก่เนื้อภายใต้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและวางแผนการทดลองสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design: CRD) มีทั้งหมด 6 ทรีทเมนต์ ทรีทเมนต์ 4 ซ้ำ รวมทั้งหมด 24 หน่วยทดลอง อาหารทดลองประกอบด้วยข้าวโพดและกากถั่วเหลืองเป็นพื้นฐานและ ทำการเสริม SOMS ในอาหารระดับ 0 (ควบคุม), 1, 2, 3, 4 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยไก่เนื้อจะได้รับน้ำและอาหารเต็มที่ ผลการทดลอง พบว่า การเสริม SOMS ส่งผลต่อการย่อยได้ปรากฏของวัตถุแห้ง ไขมันรวม พลังงานรวม และโปรตีนรวมที่ลดลงแปรผกผันกับระดับ SOMS ที่เพิ่มขึ้นในอาหารไก่เนื้อ (P<0.05) แต่การเสริม SOMS ในอาหารไก่เนื้อมีผลช่วยเพิ่มและพัฒนาความสูงของวิลไล ความลึกของคริปออฟไลเบอร์คูนของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (P<0.05) อีกทั้งยังส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ ในกลุ่ม lactic acid และ Enterococcus sp. (P<0.05) และลดจำนวนของจุลินทรีย์ Salmonella sp. และ Escherichia coli ในไส้ตันของไก่เนื้อ(P<0.05) นอกจากนี้การเสริม SOMS ในอาหารไก่เนื้อมีผลต่อการเพิ่มปริมาณการกินอาหารตลอดการทดลองและปริมาณการกินได้เฉลี่ยต่อวันเมื่อใช้ SOMS 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และปริมาณการกินได้ต่อตัวต่อวัน (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตด้านอื่น (P>0.05) หากแต่การเสริม SOMS ในอาหารไก่เนื้อส่งผลต่อค่า pH ที่ 45 นาที และ pH ที่ 24 ชั่วโมง รวมถึง ค่า trawling loss (P<0.05) นอกจากนี้การเสริม SOMS ในอาหารไก่เนื้อสามารถผลิตเนื้อไก่ที่มีระดับคอเลสเตอรอลต่ำเป็นประโยชน์ต่อผู้รักสุขภาพ(P<0.05) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสามารถเสริม SOMS ที่ระดับ 1-3 เปอร์เซ็นต์ มีศักยภาพในการเป็นแหล่งวัตถุดิบ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาจุลกายวิภาคและจุลินทรีย์ในลำไส้ของไก่เนื้อ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว