การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีผลต่อกระบวนการผลิตพืชริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการเกษตร การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและกระบวนการผลิตพืชริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ช่วงก่อนและหลังมีโครงการพัฒนาระหว่างปี 2538-2560 โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท 5 ปี 2538 2547 และเซนติเนล 2 ปี 2560 จำแนกและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินด้วยวิธีการจำแนกข้อมูลภาพเชิงวัตถุร่วมกับการใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชริมฝั่งแม่น้ำโขงจำนวน 60 คน ด้วยวิธีแบบเจาะจงเชิงพื้นที่ พบว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่างปี 2538- 2547 มีพื้นที่เบ็ดเตล็ด แหล่งน้ำ และสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.79 19.54 9.67 ตามลำดับ พื้นที่เกษตรกรรม ป่าไม้ ลดลงร้อยละ 32.50 17.50 ตามลำดับ ซึ่งระหว่างปี 2547-2560 มีพื้นที่เบ็ดเตล็ด และสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.51 6.45 ตามลำดับ แหล่งน้ำ ป่าไม้ และเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 32.34 11.42 6.24 ตามลำดับ พื้นที่ทางการเกษตรลดลงเนื่องจากพื้นที่ตลิ่งถูกกัดเซาะ ส่งผลต่อการเพาะปลูกที่เข้มข้นเพราะพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด ใช้ทุนและเทคโนโลยีสูง และความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นการผลิตเพื่อการค้า ขณะที่อดีตเป็นการผลิตแบบยังชีพ เพราะผลิตบริโภคในครัวเรือน ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก และการลงทุนต่อหน่วยพื้นที่ต่ำ ผลการศึกษาสามารถใช้ในการจัดการ วางแผน และพัฒนาการเพาะปลูกพืชริมฝั่งแม่น้ำโขงให้มีประสิทธิภาพ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว