รูปแบบการพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

วงกต ศรีอุไร
อนุสรณ์ บรรเทิง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนสำหรับการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 และเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 2) ออกแบบรูปแบบระบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน 3) วิเคราะห์และออกแบบระบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน 4) ออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ระบบ 5) พัฒนาและทดสอบระบบ และ 6) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน โดยใช้ภาษาพีเอชพี (PHP) ร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ผลการพัฒนาและทดสอบระบบพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ โดยประสิทธิผลของการใช้รูปแบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนพบว่าผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนโดยใช้รูปแบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลประเมินด้านความพึงพอใจของการใช้รูปแบบสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน พบว่าผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนจำนวน 30 คน มีความพึงพอใจในระดับมาก ( =4.25, SD.= 0.69) และผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.26, SD. = 0.61)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/
2559/A/115/1.PDF
[2] Battal Odabasi et al. 2013. Employment of Active Learning in Classroom Management and It’s Effect on Student’s Academic Success. Journal of Education and Sociology, Vol. 4. No. 2.
[3] Heng Ngee Mok. 2014. Teaching Tip: The Flipped Classroom. Journal of Information Systems Education, Vol. 25(1).
[4] Jacqueline E. McLaughlin et al. 2014. The Flipped Classroom: A Course Redesign to Foster Learning and Engagement in a Health Professions School. Academic Medicine, Vol. 89, No. 2.
[5] ราตรี นันทสุคนธ์.2554.การวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ:จุดทอง จำกัด.