การศึกษาคุณสมบัติการเป็นพืชบำบัดสารหนูในดินน้ำขังของต้นพุทธรักษา

Main Article Content

จอมจันทร์ นทีวัฒนา
ศิริเพ็ญ ตรัยไชยาพร
ประศักดิ์ ถาวรยุติการณ์
สมพร ชุนห์ลือชานนท์

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการสะสมสารหนูอนินทรีย์ชนิด As(III) และ As(V) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นพุทธรักษา โดยวัดจากน้ำหนักแห้งที่ลดลง และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดสะสมปริมาณสารหนูทั้งหมดของต้นพุทธรักษาและอวัยวะส่วนต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติการเป็นพืชบำบัดของพุทธรักษา โดยศึกษาปัจจัยการเคลื่อนย้ายสารหนูขึ้นสู่ส่วนเหนือดิน และความเข้มข้นทางชีวภาพ รูปแบบการทดลองเป็นแบบแฟคทอเรีย 3 × 4 ในแบบแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยมี ทรีตเมนต์คอมบิเนชั่นเท่ากับ 12 ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ปัจจัยทั้ง 2 ได้แก่ ชนิดของสารหนู 2 ทรีตเมนต์คือ As(III), As(V) และชุดควบคุม ระยะเวลาเพาะปลูกได้แก่ 15, 30, 45 และ 60 วัน ผลการศึกษาพบว่า สารหนูอนินทรีย์ชนิด  As(III) มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักแห้งของพุทธรักษามากกว่า As(V) อย่างมีนัยสำคัญ (P-value = 0.000) โดยมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การลดลงของน้ำหนักแห้งเท่ากับ 54.30% และ 34.27% ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดสะสมปริมาณสารหนูทั้งหมดของต้นพุทธรักษาอย่างมีนัยสำคัญ (P-value = 0.000) คือ ชนิดของสารหนูในดิน และจำนวนวันที่เพาะปลูก เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามวิธีของดันเนตต์พบว่า As(III) > As(V) > ชุดควบคุม และ 60 > 45 > 30 > 15 วัน โดยทั้ง 2 ปัจจัยยังมีอิทธิพลร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ (P-value = 0.000) ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดสะสมโทเทิลอาร์เซนิกในอวัยวะส่วนต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P-value = 0.000) ของพุทธรักษา รูปแบบการทดลองแฟคทอเรีย 3 × 4 × 4 ในแบบแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ได้แก่ ชนิดของสารหนู จำนวนวันที่เพาะปลูก และอวัยวะส่วนต่างๆ ของพุทธรักษา อีกทั้งปัจจัย 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ (P-value = 0.000) ได้แก่ ชนิดของสารหนู * จำนวนวันที่เพาะปลูก, ชนิดของสารหนู * อวัยวะส่วนต่างๆ ของพุทธรักษา และจำนวนวันที่เพาะปลูก * อวัยวะส่วนต่างๆ ของพุทธรักษา และปัจจัยทั้ง 3 มีอิทธิพลร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญ (P-value = 0.000)  เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแต่ละกลุ่มของปัจจัยที่มีอิทธิพลพบว่า As(III) > As(V) > ชุดควบคุม, 60 > 45 > 30 > 15 วัน และ เหง้า > ราก >  ลำต้น > ใบ คุณสมบัติการเคลื่อนย้ายสารหนูขึ้นสู่ส่วนเหนือดินพบว่า As(III) มีการเคลื่อนย้ายสู่ส่วนเหนือดินมากกว่า As(V) ในวันที่ 15, 30 และ 45 ความเข้มข้นทางชีวภาพพบว่า พุทธรักษาที่ปลูกในดินที่ใส่ As(V) มีค่ามากกว่า 1 ในวันที่ 45 และ 60 พุทธรักษาจึงมีคุณสมบัติเป็นพืชไฮเปอร์แอคคิวมิวเลเตอร์

Article Details

บท
บทความวิจัย