ปัจจัยทำนายการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วิทมา ธรรมเจริญ
นิทัศนีย์ เจริญงาม
นิตยา ทองหนูนุ้ย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ และสร้างสมการถดถอยโลจิสติกในการทำนายการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็นแบบสองขั้น (Two-stage sampling) ได้ตัวอย่างผู้สูงอายุที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิ  (Binary Logistic Regression Analysis) โดยวิธี Enter ผลการศึกษาพบว่า โมเดลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่า -2Log likelihood (-2LL) ของโมเดลโลจิสติกที่มีตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 15 ตัวแปร = 249.046 และ -2Log likelihood ของโมเดลที่มีเฉพาะค่าคง = 326.780; , df=8, Sig.=0.906)  โดยตัวแปรทำนายทั้งหมดสามารถอธิบายการมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ร้อยละ 35.40 และโมเดลที่สร้างขึ้นสามารถทำนายการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุได้ถูกต้อง ร้อยละ 78.30 ทั้งนี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ความสมบูรณ์ทางกาย () การสนับสนุนด้านสิ่งของ () และการพัฒนาการรู้จักตนเอง () สามารถสร้างสมการถดถอยโลจิสติกเพื่อทำนายการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุได้ดังนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย