ผลการเสริมกากงาขี้ม้อน (Perilla frutescens) สกัดน้ำมันในอาหารไก่ไข่ (ระยะท้าย) ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพของไข่ไก่ และการสะสมกรดไขมันในไข่แดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการเสริมกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันในอาหารไก่ไข่ โดยจะใช้ไก่ไข่สายพันธุ์ Hisex Brown® จำนวน 240 ตัว อายุ 60 สัปดาห์ ทำการเลี้ยงในโรงเรือนเปิดภายใต้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design, CRD) ประกอบด้วย 4 ทรีทเมนต์ 4 ซ้ำ (n=15) คือ การเสริมกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันในอาหารไก่ไข่ที่ระดับ 0, 10, 30 และ 50 กรัมต่อกิโลกรัม โดยไก่ไข่จะได้รับอาหารแบบจำกัด 110 กรัมต่อตัวต่อวันที่มีค่าโภชนะโปรตีนหยาบเท่ากับ 18 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ 2,850 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม (ME) ตามคำแนะนำของ NRC (1994). โดยทดลองทั้งหมด 56 วัน ไก่ไข่ได้รับอาหารแบบจำกัด 110 กรัมต่อตัวต่อวันและให้น้ำสะอาดแบบเต็มที่ ผลการทดลองพบว่าการเสริมกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันในอาหารไก่ไข่ ไม่แสดงผลต่อการย่อยได้โภชนะและลักษณะเลือดของไก่ไข่ (P>0.05) การเสริมกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันในอาหารไก่ไข่ที่ระดับ10 ถึง 50 กรัม/กิโลกรัมมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตไข่ต่อวัน น้ำหนักไข่เฉลี่ย มวลไข่ ประสิทธิภาพการใช้อาหารต่อการผลิตไข่ 1 กิโลกรัม และน้ำหนักไข่แดง (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการเสริมกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันในอาหารไก่ไข่ส่งผลทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลรวม และ HDL ในเลือดของไก่ไข่สูงขึ้น (P<0.05) แต่ระดับ LDL ของทุกกลุ่มการทดลองมีค่าใกล้เคียงกัน (P>0.05) การเสริมกากงาขี้ม้อน สกัดน้ำมันส่งผลต่อการเพิ่มการสะสมคอเลสเตอรอลรวม MUFA, PUFA, และ LC- PUFA เช่น โอเลอิก (C18:1n9), ลิโนเลอิก (C18:2n6), ลิโนเลนิก (C18:3n3) และ DHA (C22:6n3) ในไข่แดง (P<0.01) อีกทั้งผลการทดลองครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการเสริมกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันทั้ง 3 ระดับ มีผลต่อการเพิ่มการสะสมรวมถึงกรดไขมันโอเมก้า-3 กรดไขมันโอเมก้า-6 กรดไขมันโอเมก้า-9 และสัดส่วนของ กรดไขมันโอเมก้า-3 ต่อโอเมก้า-6 ในไข่ไก่สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.01) การทดลองนี้สรุปว่ามีศักยภาพในการเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทางเลือกสำหรับไก่ไข่และการเสริมกากงาขี้ม้อนสกัดน้ำมันที่ระดับ 30 กรัมต่อกิโลกรัมในอาหารไก่ไข่สามารถผลิตไข่ไก่ที่มีการสะสมของกรดไขมันชนิด DHA และ โอเมก้า-3 ในไข่แดง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว