คุณภาพอากาศภายในอาคารโรงแรมและกลุ่มอาการเจ็บป่วยของพนักงานโรงแรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

มธุรส ประสมวงค์
วันอัสมีน โฮ
ธิดารัตน์ บุญช่วย
จินดา คงเจริญ
ณัฐจิต อ้นเมฆ

บทคัดย่อ

อาคารโรงแรมมักตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ มีการจราจรหนาแน่น ทั้งยังมีผู้ที่อาศัยอยู่ภายในอาคารเป็นจำนวนมาก หากมีคุณภาพอากาศ ภายในอาคารที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแก่พนักงานที่อยู่ในอาคารได้ วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพอากาศภายในอาคารโรงแรมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ตรวจวัดสิ่งปนเปื้อนในอากาศที่มีผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคารและเปรียบ เทียบสิ่งปนเปื้อนระหว่างโรงแรม 3) ประเมินกลุ่มอาการเจ็บป่วยของพนักงานโรงแรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อมที่ทำงานด้วยแบบสำรวจพื้นที่และตรวจวัดสิ่งปนเปื้อนในอากาศ ประเมินกลุ่มอาการเจ็บป่วยโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ t-test


ผลสำรวจสภาพแวดล้อมในอาคาร แต่ละพื้นที่ใช้สอยของทั้ง 2 โรงแรม พบห้องครัวเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดสิ่งปนเปื้อนในอากาศมากกว่าพื้นที่อื่น  โดยปริมาณฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ความเร็วลม และคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน ASHRAE กำหนด แต่อุณหภูมิและความชื้นมีค่าเกินกว่ามาตรฐานทั้ง 2 โรงแรม เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสิ่งปนเปื้อนในอากาศระหว่างโรงแรมพบว่า ความชื้น (t-test = 5.650; p-value = 0.000) คาร์บอนไดออกไซด์ (t-test = -3.475; p-value = 0.001) และฝุ่นรวม (t-test = -5.440; p-value = 0.000) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจมาจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การใช้บริการของลูกค้า การประกอบอาหาร การใช้อุปกรณ์สำนักงาน ผลการประเมินอาการเจ็บป่วยของพนักงานทั้งสองโรงแรม 246 คน พบว่าโรงแรม A พนักงานมีอาการเหนื่อยล้า อ่อน - เพลีย และโรงแรม B พนักงานมีอาการคัดจมูกและระคายเคืองตา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีส่วนที่มีผลจากฝุ่นรวมและความชื้นในที่ทำงาน โดยเฉพาะคนที่มีความไวต่อการเกิดกลุ่มอาการข้างต้น ดังนั้นการจัดการระบายอากาศเพื่อลดฝุ่นและความชื้น ควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารให้เหมาะสม จะสามารถลดปัจจัยอาจส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการเจ็บป่วยของพนักงานภายในอาคารโรงแรมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย