ผลของการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย อย่างมีแบบแผนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

Main Article Content

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง
วิรดา อรรถเมธากุล
ดวงแข พิทักษ์สิน

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยอย่างมีแบบแผน โดยเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการเตรียมความพร้อม ศึกษาความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยและความพร้อมในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี  มีจำนวน 108   ราย ของปีการศึกษา 2559  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติ โดยมีระยะเวลา 1 สัปดาห์  จำนวน 30 ชั่วโมง    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามความวิตกกังวลในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย  และแบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยสำหรับนักศึกษาพยาบาล  ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 - 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1.นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยหลังการเตรียมความพร้อมต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยก่อนการเตรียมความพร้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


2.นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก


(= 4.05 , S.D.= .35)


3.ความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง (= 4.05 ,S.D.= .35)   


            การเตรียมความพร้อมในการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยสำหรับนักศึกษาพยาบาล อาจารย์ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีเวลาในการทบทวนและฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย