กระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มดิบโดยใช้แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยแครงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

วุฒิชัย รสชาติ
จาณียา ขันชะลี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำน้ำมันปาล์มดิบมาเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลกับสารเมทานอล แต่เนื่องจากน้ำมันปาล์มดิบมีกรดไขมันอิสระ (FAA) ในปริมาณสูงและมียางเหนียว ดังนั้นปฏิกิริยาเอสเทอร์ริฟิเคชันจึงถูกนำมาใช้เพื่อลดกรดไขมันอิสระจาก 7.25 wt.% ลดลงเหลือ 1.50 wt.% โดยใช้กรดซัลฟิวริก (H2SO4) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา      ขั้นต่อมาคือการเปลี่ยนน้ำมันปาล์มดิบที่ผ่านการลดปริมาณกรดไขมันอิสระไปเป็นผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลด้วยปฏิกิริยา ทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน เร่งปฏิกิริยาด้วยสาร CaO ที่เตรียมได้จากเปลือกหอยแครงภายใต้สภาวะที่เหมาะสมที่สุดคือ ปริมาณ CaO 6 wt.% อัตราส่วนโดยโมลของสารเมทานอลต่อน้ำมันปาล์มดิบที่ผ่านการลดกรดไขมันอิสระเท่ากับ 12:1 และอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 65 °C สามารถผลิตไบโอดีเซลได้ %FAME ถึง 98.7% (±1.5) และปริมาณน้ำมันไบโอดีเซล (%yield) ที่ได้เท่ากับ 87% (±2) ภายในระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 3 ชั่วโมง โดยที่ตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้มากถึง 4 ครั้ง และส่วนสุดท้ายของงานวิจัยนี้คือการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้หลังจากผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ พบว่าน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้          มีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของทั้งวิธี ASTM และ EN14214 สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพเหลว

Article Details

บท
บทความวิจัย