การศึกษาการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวกับผู้ปฏิบัติงานสัมผัสความเย็น ในโรงผลิตน้ำแข็ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการอบถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวเพื่อให้ได้อุณหภูมิ 40 - 45 องศาเซลเซียส ศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวกับอายุ ระยะเวลาการสัมผัสความเย็น และอายุการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงผลิตน้ำแข็งแห่งหนึ่ง วิธีการทดลอง นำถุงมือบรรจุถั่วเขียว 500 กรัม อบที่ความร้อน 800 วัตต์โดยเตาอบไมโครเวฟ ในระยะเวลาที่กำหนด แบบสอบถามประเมินความคิดเห็นของการใช้งานมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวโดยตั้งเกณฑ์ระดับมากขึ้นไป จากกลุ่มตัวอย่าง เพศชาย ปฏิบัติงานยก ผลัก เข็น ก้อนน้ำแข็งด้วยมือ สัมผัสความเย็นอุณหภูมิ-1 ถึง -30 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน และมีประสบการณ์ทำงาน 1 ปีขึ้นไป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Repeated Measures ANOVA, Simple T Test และ Pearson‘ s Correlation Coefficient
จากผลการวิจัย พบว่า ระยะเวลาในการอบถุงมือที่เหมาะสม คือ 2 นาที ที่ความร้อน 800 วัตต์ กลุ่มตัวอย่างใช้งานถุงมือ เป็นเพศชาย จำนวน 27 คน มีความคิดเห็นต่อการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียว ในระดับมากที่สุด คือ ด้านอุณหภูมิขณะสวมใส่ และด้านการใช้งานและการเก็บรักษา ที่ค่าเฉลี่ย 4.67 และพบว่ายังมีระดับความคิดเห็นที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มากที่สุด คือ ด้านรูปลักษณ์และขนาด ที่ค่าเฉลี่ย 3.37 ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความคิดเห็นของการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิ กับอายุ ระยะเวลาการสัมผัสกับความเย็น และอายุการปฏิบัติงาน พบว่า อายุและอายุการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความคิดเห็นของการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ < 0.001 ข้อแนะนำ ถุงมือมีความเหมาะสมในการสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงาน แต่ควรพัฒนารูปลักษณ์และขนาดถุงมือให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงให้ความรู้ถึงอันตรายจากการสัมผัสความเย็นเป็นเวลานาน และข้อปฏิบัติที่เหมาะสมในปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับการใช้งานถุงมือปรับอุณหภูมิจากถั่วเขียวอย่างต่อเนื่องต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว