ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น

Main Article Content

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ (Correlation Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเลี้ยงดูวัยรุ่น  พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น และหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่างคือบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่เป็นผู้เลี้ยงดูวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีจำนวน 150 คน ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการเลี้ยงดูวัยรุ่น และพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้การคํานวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูบุตรวัยรุ่นเป็นแบบสร้างเสริมความยึดเหนี่ยวผูกพันมากที่สุด ร้อยละ 36 แบบปกป้องคุ้มครอง ร้อยละ 21.3 แบบเพิ่มพูนความมีวุฒิภาวะ ร้อยละ 20 แบบสร้างเสริมความยึดเหนี่ยวผูกพันร่วมกับแบบปกป้องคุ้มครอง ร้อยละ 10 แบบสร้างเสริมความยึดเหนี่ยวผูกพันร่วมกับแบบเพิ่มพูนความมีวุฒิภาวะ ร้อยละ 6.7 แบบเพิ่มพูนความมีวุฒิภาวะร่วมกับแบบปกป้องคุ้มครอง ร้อยละ 4 และ ร่วมกันทั้ง 3 แบบคือ แบบสร้างเสริมความยึดเหนี่ยวผูกพัน แบบเพิ่มพูนความมีวุฒิภาวะ และแบบปกป้องคุ้มครอง ร้อยละ 2 วัยรุ่นในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีพฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เป็นประจำ ร้อยละ 20.7 มีพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดเป็นประจำ ร้อยละ 12 มีพฤติกรรมความรุนแรงเป็นประจำ ร้อยละ 10.7 มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเป็นประจำ ร้อยละ 10 และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเป็นประจำ ร้อยละ 7.3          ด้านความสัมพันธ์พบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น (พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ พฤติกรรมความรุนแรง พฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย พฤติกรรมการใช้ยาเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05)      

Article Details

บท
บทความวิจัย