การศึกษาปริมาณและชนิดของสารประกอบฟีนอลิคในส่วนต่างๆ ของถั่วดาวอินคา

Main Article Content

สุวัชชัย มิสุนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด ปริมาณและชนิดของกรดฟีนอลิคในส่วนของใบอ่อน ใบแก่ ใบชาของถั่วดาวอินคา เปลือกหุ้มเมล็ด และเมล็ด โดยวิธีทางสเปกโทรสโคปี ผลการทดลองพบว่า ใบแก่จากถั่วดาวอินคามีปริมาณฟีนอลิคทั้งหมดสูงที่สุด ให้ค่าเท่ากับ 190.25 ± 3.31 mg GAE/100g (น้ำหนักแห้ง) และพบน้อยที่สุดในส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วดาวอินคา เมื่อนำใบแก่จากถั่วดาวอินคามาผลิตเป็นใบชาพบว่ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมดเพิ่มสูงขึ้น เท่ากับ 296.09 ± 6.64 mg GAE/100g (น้ำหนักแห้ง) การวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของกรดฟีนอลิคด้วยเครื่องโครมาโทกราฟฟีของเหลวสมรรถนะสูง โดยเทียบกับสารละลายมาตรฐานกรดฟีนอลิค 5 ชนิด ได้แก่ กรดแกลลิค กรด   ไซรินจิก กรดเฟอร์รูลิค กรดพาราคูมาริคและกรดวานิลลิค พบว่ามีกรดแกลลิคและกรดวานิลลิคมากที่สุดในใบชาของถั่วดาวอินคา เท่ากับ 127.08 ± 4.96 และ 141.00 ± 2.40 µg/100 g (น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ กรดไซริงจิคและกรดเฟอร์รูลิค พบมากที่สุดในส่วนใบแก่ เท่ากับ 35.14 ± 3.70 และ 1,143.03 ± 3.51 µg/100 g (น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ และกรดพาราคูมาริคพบมากที่สุดในใบอ่อน มีค่าเท่ากับ 213.56 ± 1.43 µg/100g (น้ำหนักแห้ง)

Article Details

บท
บทความวิจัย