การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินผลการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือ

Main Article Content

ศศิธร คงอุดมทรัพย์
น.ท.ผศ.พงศิษฏ์ ทวิชพงศ์ธร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินผลการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือที่มีความสามารถหลัก 3 ประการคือ มีความสามารถในการป้องกันรายละเอียดการให้คะแนนสำหรับการการตอบแบบสอบถามของผู้เรียนแต่ละคน มีความสามารถในการระบุได้ว่าผู้เรียนคนใดทำการประเมินเรียบร้อยแล้ว หรือยังไม่ได้ทำการประเมินในรายวิชาใดบ้าง และมีความสามารถในการแสดงผลการประเมินในแต่ละด้านได้อย่างครบถ้วน 2) ประเมินคุณภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินผลการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือโดยผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินผลการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการประเมินในข้อ 2) และ 3) ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ท่าน และผู้ใช้งานโปรแกรม จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือได้แก่ OOP (Object – Oriented Programming) สำหรับรูปแบบในการพัฒนาโปรแกรม Visual Studio Code สำหรับการเขียนโปรแกรม PHP สำหรับการประมวลผลโปรแกรม HTML CSS และ JavaScript สำหรับการแสดงผลข้อมูล MySQL สำหรับการจัดการฐานข้อมูล และ Apache Web Server สำหรับการให้บริการเว็บไปยังอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตต่าง ๆ  2) แบบประเมินคุณภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินผลการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ด้านความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรม ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม และด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในโปรแกรม และ 3) แบบสอบถามความถึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินผลการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคู่มือการใช้งานโปรแกรม ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันของโปรแกรม ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ด้านส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรมและการแสดงผลการประเมินการสอน และด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินผลการสอนรายวิชาของโรงเรียนนายเรือที่สร้างขึ้นมีความสามารถครบทั้ง 3 ประการตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ กล่าวคือ มีความสามารถในการป้องกันรายละเอียดการให้คะแนนสำหรับการตอบแบบสอบถามของผู้เรียนแต่ละคน สามารถระบุผู้เรียนที่ทำการประเมินเรียบร้อยแล้ว หรือยังไม่ได้ทำการประเมินในรายวิชาใดได้ และสามารถแสดงผลการประเมินในแต่ละด้านได้อย่างครบถ้วน 2) ผลการประเมินคุณภาพโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในด้านการวิเคราะห์และออกแบบในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}&space;=&space;4.5, gif.latex?S.D.&space;=&space;0.71) ด้านความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=&space;5&space;,&space;S.D.=0) ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=4.5&space;,&space;S.D.&space;=&space;0.71) และด้านการรักษาความปลอดภัยของโปรแกรมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=4.5,&space;S.D.=0.71) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรมทั้ง 5 ด้านมีดังนี้ ด้านคู่มือการใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.53,&space;S.D.=0.51) ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันของโปรแกรมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.53,&space;S.D.=0.51) ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานโปรแกรมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.47,&space;S.D.=0.61) ด้านส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรมและการแสดงผลการประเมินการสอนอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.58,&space;S.D.=0.51) และด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในโปรแกรมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.21,&space;S.D.=0.98)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Royal Thai Naval Academy. 2020. Royal Thai Naval Academy Mission. http://www.rtna.ac.th/index.php. Accessed 1 December 2020. (in Thai)
[2] Educational Quality Assurance Division
Statistics and research Royal Thai Naval
Academy. 2020. Educational quality
Assurance Royal Thai Naval Academy.
http://www.rtna.navy.mi.th/stat/. Accessed 1
December 2020. (in Thai)
[3] Nine Expert. 2558. MS SQL Server.
http://www.9experttraining.com/articles/ sqlserver-system-database. Accessed 1
December 2020. (in Thai)
[4] Jitti Suthakun and Peerapong Phomchan. 2020.
Development of the ALC English Language
Practice Program. Southeast Bangkok Journal.
7 (1): 55-67. January-June, 2021. (in Thai)
[5] Sansak Husskham. 2016. Development of
programs to support the measurement and
evaluation of learning. Research and
Development Journal Walayalongkorn
under Royal Patronage Science and
Technology. 11 (1): 57-67. (in Thai)
[6] Sawitree Phiphitikul and Rittichaipanak. 2020.
Program development, website, data center
system, research Rajabhat University
Chaiyaphum. Research Community Journal.
11 (1): 18-28. (in Thai)