การประเมินศักยภาพทำเลที่เหมาะสมและศักยภาพทางการตลาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลและผลไม้ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและจังหวัดจันทบุรี (EEC+1)

Main Article Content

รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพทำเลที่เหมาะสม และศักยภาพทางการตลาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลและผลไม้ในพื้นที่ EEC และจันทบุรี โดยใช้การวิเคราะห์ค่าถ่วงน้ำหนักปัจจัยแบบลำดับขั้น (AHP) และนำเข้าในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพทำเลที่เหมาะสมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อประเมินศักยภาพทางการตลาด 4P โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลและผลไม้ จำนวน 81 ราย ผลการศึกษาศักยภาพทำเล พบว่าศักยภาพทำเลที่เหมาะสมของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเล มีพื้นที่เหมาะสมสูง 3,405.34 ตารางกิโลเมตร พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 2,776.60 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่เหมาะสมต่ำ 776.41 ตารางกิโลเมตร และพบว่ามีจำนวนผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เหมาะสมสูง จำนวน 20 ราย อยู่ในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง จำนวน 4 ราย อยู่ในพื้นที่เหมาะสมต่ำ จำนวน 2 ราย และอยู่ในพื้นที่กันออก จำนวน 4 ราย ส่วนศักยภาพทำเลที่เหมาะสมของอุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้ พบว่ามีพื้นที่ศักยภาพทำเลที่เหมาะสมสูง 6,679.78 ตารางกิโลเมตร พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 7,507.54 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่เหมาะสมต่ำ 5,592.08 ตารางกิโลเมตร และพบว่ามีจำนวนผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เหมาะสมสูง จำนวน 61 ราย อยู่ในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง จำนวน 26 ราย และอยู่ในพื้นที่เหมาะสมต่ำ จำนวน 3 ราย ส่วนผลการศึกษาศักยภาพทางการตลาด 4P พบว่าผู้ประกอบการกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลและผลไม้มีศักยภาพด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด (x-= 4.19) รองลงมาเป็นด้านราคา (x-  = 3.99) อันดับที่ 3 เป็นด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (x-  = 3.05) อันดับสุดท้ายเป็นด้านการส่งเสริมการขาย (x-  = 2.99)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Maesincee, S. 2018. Thailand 4.0. http://fms.
bru.ac.th/wp-content/uploads/2018/02/Dr.
preecha.pdf. Accessed 24 June 2018. (in Thai)
[2] Suteerachart. J. 2017. EEC, a new hope for the
Thai economy. Money and Banking Magazine.
https://www.scbeic.com/th/detail/product/
3544. Accessed 18 June 2018. (in Thai)
[3] Industrial Promotion Center Region 7. 2018.
Alibaba invests in EEC 11 billion baht. https://
ipc7.dip. go.th/th/category/ipc7-dip-news/
eecalibaba. Accessed 5 July 2018. (in Thai)
[4] Amornwongpaiboon, B. 2017. Platform
businesses: opportunities and their impact on
businesses. National Academic Conference
Rajabhat University Chom Bueng Village. (5):
1-9. (in Thai)
[5] Parinyasutinan, A. 2017. "Community Enterprises"
Patient in business competition. Silpakorn
University Journal. 37(2): 131-150. https://
so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/
view/94867/74166. Accessed 20 June 2018.
(in Thai)
[6] Office of the Eastern Economic Corridor Policy
Committee. 2018. Food processing industry.
https://www.eeco.or.th/industry/ food
processing industry. Accessed 11 October 2018.
(in Thai)
[7] Phankeaw, Y. 2018. Information technology
And national development. https://sites.
google.com/site/yanee4546/thekhnoloyi-
sarsnthes-kab-kar-phathna-prathes. Accessed 10
July 2018. (in Thai)
[8] Defense Technology Institute. 2018. Hierarchical
analysis process. https://150319174753_3ahp4.
pdf. Accessed 15 July 2018. (in Thai)
[9] Ratchatranon, V. 2018. Quality inspection of
research instruments. http://rlc.nrct.go.th/
ewt_dl.php?nid=988. Accessed 6 October 2018.
(in Thai)
[10] Nitiwattana, C. 2015. Guidelines to promote the
marketing strategies under the self-sufficiency
economic philosophy of the community
enterprise in samsung district, KhonKaen
Province. Suthiparithat Journal. 29(91):
220-238 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/
DPUSuthiparithatJournal/article/view/244420
/166092. Accessed 18 June 2018. (in Thai)