ตัวแบบการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควัน ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาสำหรับพยากรณ์ปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควันของประเทศไทยแบบรายเดือน และเพื่อพยากรณ์ปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควันประจำปี พ.ศ. 2565 โดยใช้ข้อมูลปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควันจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 130 ค่า ข้อมูลทั้งหมดถูกแบ่งเป็น 2 ชุด โดยข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 118 ค่า ใช้สำหรับสร้างตัวแบบสำหรับการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา โดยเทคนิคที่เลือกใช้สร้างตัวแบบมี 3 วิธี ได้แก่ วิธีการของบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก ส่วนข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 12 ค่า นำมาใช้ประเมินความแม่นยำของตัวแบบพยากรณ์ โดยใช้เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) เป็นเกณฑ์ในการประเมิน ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบที่มีความแม่นยำมากที่สุด คือ ตัวแบบที่สร้างด้วยวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก โดยให้ค่า MAPE ต่ำที่สุด เท่ากับ 11.33% เมื่อใช้ตัวแบบดังกล่าวพยากรณ์การส่งออกยางแผ่นรมควันในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 แบบรายเดือน พบว่าเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 มีปริมาณการส่งออกสูงสุด เท่ากับ 53,910,618.14 กิโลกรัม และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 มีปริมาณการส่งออกต่ำสุด เท่ากับ 38,888,915.11 กิโลกรัม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Admin, C. 2019. Industrial Drop. https://numismaticliteraryguild.org. Accessed 30 November 2021. (in Thai)
Business information center. 2019. Rubber Exports of Thailand. http://www.thaibiz.net. Accessed 30 November 2021. (in Thai)
Sowcharoensuk, C. 2019. Processing Rubber Industry. https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/1_km/IO_Rubber_190617_TH_EX.pdf. Accessed 30 November 2021. (in Thai)
Office of Agricultural Economics. 2019. Export. https:// impexp.oae.go.th. Accessed 30 November 2021. (in Thai)
Rubber Authority of Thailand. 2018. Rib Smoked Sheet. http://www. raot.co.th. Accessed 30 November 2021. (in Thai)
Taesombat, S. 2006. Quantitative Forecasting. Bangkok: Kasetsart University Press. (in Thai)
Box, G.E.P. and et al. 2016. Time Series Analysis: Forecasting and Control, 5th Edition. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Riansut, W. 2016. Forecasting Natural Rubber Latex Price. Science and Technology Journal. 24(2): 211-214. (in Thai)
Montgomery, D.C., Jennings, C.L. and Kulahci, M. 2008. Introduction to Time Series Analysis and Forecasting. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Rajakovich, D. and Vladimirov, V. 2009. Prediction markets as a medical forecasting tool: Demand for hospital services. The Journal of Prediction Markets. 3(2): 78-106.
Choopradit, B. and Chaipitak, C. 2018. Forecasting model for mango export volumes of Thailand. Naresuan University Journal: Science and Technology. 26(2): 74-85. (in Thai)
Jatuporn, C. and Sukprasert, P. 2016. Forecasting models for rubber production and export quantity of Thailand. Khon Kaen Agriculture Journal. 44(2): 219-228. (in Thai)
Saetern, M. 2016. Rubber History. https://sites.google.com/site/manlikasaetern/prawati-khxng-yangphara. Accessed 30 November 2021. (in Thai)
Riansut, W. 2016. Forecasting model for the export values of rubber wood and furniture of Thailand. Burapha Science and Technology Journal. 24(3): 108-122. (in Thai)