ความสามารถในการยับยั้งไวรัสของเครื่องผลิตโอโซนที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ปาริชาติ พุ่มขจร
อารยา ปุ้ยไชยศร
จริยาภรณ์ อุ่นวงษ์
ณัฐมัย ศุภวรรณาวิวัฒน์
ยุภารัตน์ เครือวงษา
ศศิธร หล่อเรืองศิลป์
ผดุง กิจแสวง
ปฐวี ทองโปรด
จำลอง กิตติวรเวช
พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ

บทคัดย่อ

โอโซนเป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจนจำนวน 3 อะตอม มีความเสถียรต่ำ เนื่องจากอะตอมของออกซิเจนที่เพิ่มขึ้นมาอีก 1 อะตอมจับกับโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนด้วยพันธะที่ไม่แข็งแรง ด้วยเหตุนี้โอโซนจึงมักทำให้เกิดกระบวนการออกซิเดชัน ซึ่งนำไปสู่การยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ในปัจจุบันมีการสร้างเครื่องผลิตโอโซนเพื่อใช้ฆ่าจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์ ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้สร้างเครื่องผลิตโอโซนขึ้นมา ภายใต้โครงการนวัตกรรมสนับสนุนทางการแพทย์รองรับการระบาดจากเชื้อไวรัส COVID-19 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสามารถของเครื่องผลิตโอโซนที่พัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในการยับยั้งเชื้อไวรัส โดยการศึกษานี้ใช้ coliphage ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถบุกรุก Escherichia coli ได้เป็นตัวแทนของไวรัส การศึกษาผลของเวลาที่ใช้ในการอบโอโซนต่อความสามารถของเครื่องผลิตโอโซนในการยับยั้ง coilphage ทำโดยนำ coliphage ที่มีความเข้มข้น 107 pfu/ml ปริมาตร 10 ไมโครลิตรหยดลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ BHI agar แล้วนำไปบ่มในตู้อบโอโซน เป็นเวลา 30, 60, 90 และ 120 นาที จากนั้นเททับ BHI agar ที่มีหยดของ coliphage อยู่ ด้วย soft BHI agar ที่มี E. coli ผสมอยู่ แล้วนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าการอบโอโซนเป็นเวลาตั้งแต่ 60 นาทีสามารถยับยั้ง coliphage ได้อย่างสมบูรณ์ การศึกษาผลของปริมาณไวรัสต่อความสามารถของเครื่องผลิตโอโซนในการยับยั้ง coilphage ทำโดยนำ coliphage ที่มีความเข้มข้น 107, 106, 105, 104, 103, 102 และ 10 pfu/ml ปริมาตร 10 ไมโครลิตรหยดลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ BHI agar แล้วนำไปบ่มในตู้อบโอโซน เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นเททับ BHI agar ที่มีหยดของ coliphage อยู่ ด้วย soft BHI agar ที่มี E. coli ผสมอยู่ แล้วนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าการอบโอโซนเป็นเวลา 30 นาทีสามารถยับยั้ง coliphage ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 105 pfu/ml ได้อย่างสมบูรณ์ จากการศึกษานี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่าหากต้องนำเครื่องผลิตโอโซนนี้ไปใช้งานจริงและต้องการให้ยับยั้งไวรัสได้อย่างสมบูรณ์ควรใช้เวลาในการอบโอโซนเป็นเวลาอย่างน้อย 60 นาที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Rossmann, M.G. 2013. Structure of viruses: A short history. Quarterly Reviews of Biophysics. 46(2): 133-180.

Kinchington, P.R. and et al. 2012. Herpes simplex virus and varicella zoster virus, the house guests who never leave. Herpesviridae. 3: 5.

Atkinson, B. and Petersen, E. 2020. SARS-CoV-2 shedding and infectivity. The Lancet. 395(10233): 1339-1340.

Elvis, A.M. and Ekta, J.S. 2011. Ozone therapy: A clinical review. Journal of Natural Science, Biology, and Medicine. 2(1): 66-70.

Barnes, P.W. and et al. 2019. Ozone depletion, ultraviolet radiation, climate change and prospects for a sustainable future. Nature Sustainability. 2: 569-579.

Ximenes, M. and et al. 2017. Antimicrobial activity of ozone and NaF-chlorhexidine on early childhood caries. Brazilian Oral Research. 31: e2.

Kanawong, N. and et al. 2020. Examination of antibacterial efficiency of ozone generator. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University. 22(3): 45-52. (in Thai)

Ilyas, M., Masih, I. and van der Hoek, J.P. 2018. Disinfection methods for swimming pool water: Byproduct formation and control. Water. 10: 797.

Dobrynin, D. and et al. 2011. Inactivation of bacteria using DC corona discharge: Role of ions and humidity. New Journal of Physics. 13: 103033.

Dubuis, M.E. and et al. 2020. Ozone efficacy for the control of airborne viruses: Bacteriophage and norovirus models. PLoS One. 15(4): e0231164.

Jakab, G.J. and Hmieleski, R.R. 1988. Reduction of influenza virus pathogenesis by exposure to 0.5 ppm ozone. Journal of Toxicology and Environmental Health. 23(4): 455-472.

Wells, K.H. and et al. 1991. Inactivation of human immunodeficiency virus type 1 by ozone in vitro. Blood. 78: 1882-1890.

Hudson, J.B., Sharma, M. and Vimalanathan, S. 2009. Development of a practical method for using ozone gas as a virus decontaminating agent. Ozone: Science & Engineering. 31(3): 216-223.

Rowen, R.J. 2019. Ozone and oxidation therapies as a solution to the emerging crisis in infectious disease management: a review of current knowledge and experience. Medical Gas Research. 9: 232-237.

Cattel, F. and et al. 2021. Ozone therapy in COVID-19: A narrative review. Virus Research. 291: 198207.

Salmond, G. and Fineran, P. 2015. A century of the phage: Past, present and future. Nature Reviews Microbiology. 13: 777-786.

Phumkhachorn, P. and Rattanachaikunsopon, P. 2019. Bacteriophages: Biology and applications. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University. 21(3): 1-13. (in Thai)

Gomez-Ramos, M.D.M. and et al. 2011. Chemical and toxicological evolution of the antibiotic sulfamethoxazole under ozone treatment in water solution. Journal of Hazardous Materials. 192(1): 18-25.

Khadre, M.A., Yousef, A.E. and Kim, J.G. 2001. Microbiological aspects of ozone applications in food: A review. Journal of Food Science. 66(9): 1242-1252.