การใช้แบบจำลองเพื่อศึกษาการใช้พื้นที่ชะลอน้ำในการลดพื้นที่น้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

Main Article Content

นันทวัชร์ คมขำ
ดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์
ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้พื้นที่ชะลอน้ำในการลดพื้นที่น้ำท่วมในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยใช้แบบจำลอง iRIC ซึ่งเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ 2 มิติในการศึกษา ข้อมูลที่ใช้นำเข้าแบบจำลองได้แก่ SRTM DEM และอัตราการไหลสูงสุด ซึ่งการปรับเทียบแบบจำลองใช้ข้อมูลในปี พ.ศ. 2554 พบว่าค่าความสูงน้ำท่วมสูงสุดจากแบบจำลองมีค่าใกล้เคียงกับค่าความสูงของคราบน้ำที่ได้จากการตรวจวัดจากโครงการ IMPAC-T โดยมีผลต่างที่ 0.01 – 0.97 เมตร และมีพื้นที่น้ำท่วมใกล้เคียงกับภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA ส่วนการตรวจพิสูจน์แบบจำลองเลือกใช้ข้อมูลในปี พ.ศ. 2556 พบว่ามีพื้นที่น้ำท่วมใกล้เคียงกับภาพถ่ายดาวเทียมเช่นกัน จากนั้นได้จำลองสภาพน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่รอบปีเกิดซ้ำ 5 10 20 และ 25 ปี พบว่ามีพื้นที่น้ำท่วม 2,210.81 2,330.23 2,376.47 และ 2,427.50 ตร.กม. ตามลำดับ และเมื่อกำหนดพื้นที่ชะลอน้ำในบริเวณที่ศึกษา พบว่าที่รอบปีเกิดซ้ำ 5 10 และ 20 ปี สามารถลดความสูงของน้ำท่วมเฉลี่ยได้ 0.08 0.07 และ 0.04 เมตร รวมถึงสามารถลดพื้นที่น้ำท่วมได้ 53.10 65.10 และ 15.08 ตร.กม. ตามลำดับ ส่วนที่รอบปี
การเกิดซ้ำที่ 25 ปีนั้น การกำหนดพื้นที่ชะลอน้ำไม่สามารถช่วยลดสภาพน้ำท่วมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย