The การลดพลังงานในการอบลดความชื้นข้าวเปลือกในไซโลขนาด 300 ตัน โดยการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดพลังงานในการอบลดความชื้นข้าวเปลือกในไซโลขนาด 300 ตัน โดยการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ โดยการสร้างอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อนำความร้อนที่เหลือจากการอบลดความชื้นข้าวเปลือกในไซโลมาหมุนเวียนความร้อนมาใช้ใหม่ จากนั้นทำการเปรียบเทียบกับการอบลดความชื้นแบบเดิมกับการอบลดความชื้นแบบที่มีการหมุนเวียนความร้อนมาใช้ใหม่ โดยทำการทดสอบที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเฉลี่ยตลอดการทดสอบใกล้เคียงกันคือประมาณ 32 °C พบว่า อุณหภูมิอากาศร้อนออกจากเตาเผาแกลบเฉลี่ยตลอดการทดสอบใกล้เคียงกันทั้งสองกรณีที่ศึกษาคือประมาณ 80 °C แต่การทดสอบการลดความชื้นข้าวเปลือกโดยใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่สร้างขึ้น ประหยัดแกลบเชื้อเพลิงได้ 12.88% เมื่อเปรียบเทียบกับการลดความชื้นข้าวเปลือกแบบเดิม หรือคิดเป็น 6,408 บาท (คิดที่การซื้อขายแกลบกิโลกรัมละ 8 บาท) หรือจะช่วยให้ประหยัดพลังงานได้ 1,837,080 MJ/ปี คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ 145,800 บาท/ปี โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 237,260.87 บาท และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 17.32% มีระยะเวลาในการคืนทุน 6 ปี และถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
Article Details
References
[2] สำนักสินค้าการเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2547). คุณภาพและการตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทย. ISBN 974-436-343-6; 2547
[3] สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวข้าว. องค์ความรู้เรื่องข้าว 2555 ได้จาก: http://www.brrd.in.th/rkb/postharvest/. 15 พฤษภาคม 2555.
[4] สุพิชญาย์ มีสุขเจ้าสำราญ. เครื่องอบแห้งแบบหล่นอิสระ. เงื่อนไขการอบแห้งที่ให้คุณภาพข้าวสารที่ดี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 2552
[5] Poomsa-ad, N. Optimal Design of Paddy Drying System in Rice Mill. Doctor’s Thesis: King Mongkut, University of Technology Thonburi, Thailand. 2001.
[6] ขุนพล สังข์อารียกุล. การประเมินสถานภาพเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกในประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต . สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2544.
[7] อมร ดอนเมือง, นิรุต อ่อนสลุง และ สุริยา โชคเพิ่มพูน. การทำนายพฤติกรรมของอากาศในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนของการอบข้าวเปลือกเมื่อเลือกใช้โครงสร้างที่ต่างกัน 3 รูปแบบ. ใน: เอกสารการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสกลนคร ครั้งที่ 1. มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. สกลนคร; 2541. หน้า A252-256.