ระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอำเภอเขาค้อด้วยหลักการออนโทโลยี

Main Article Content

ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อพัฒนาระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ในรูปแบบออนโทโลยี และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในรูปแบบออนโทโลยี ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้การท่องเที่ยวทางธรรมชาติจากเว็บไซต์ และผู้มีความรู้/ผู้เชี่ยวชาญ  2) การพัฒนาระบบแนะนำ ประกอบด้วย ฐานความรู้ออนโทโลยี  ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ด้วย โปรแกรม MySQL  ภาษา SPARQL command สำหรับประมวลผลออนโทโลยี และภาษา Python และ PHP  เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น และ 3) ประเมินประสิทธิภาพระบบแนะนำโดยใช้การหาค่า precision, recall, F-measure  และประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ต่อระบบ ผลการวิจัยพบว่า ฐานความรู้ออนโทโลยี มี 3 ระดับชั้น จำนวน 18 โหนดความรู้ และมี 6 กฎในการแนะนำ  การประเมินประสิทธิภาพระบบแนะนำได้ค่า F-measure  เท่ากับ 89.7% และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.48 ± 0.53)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. แผนพัฒนา
จังหวัดเพชรบูรณ์ (พ.ศ. 2561 – 2565) รอบทบทวน ประจำปี พ.ศ. 2563. เพชรบูรณ์ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด; 2561.
2. Marketingoops. ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบ
ต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 จาก https://today.line.me/th/pc/article/ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่-k7Qr1o; 2561.
3. Javid seyidov and Roma adomaitiene.
Factors Influencing Local
Tourists’ Decision-Making on
Choosing a Destination: A Case of
Azerbaijan. Online ISSN 2424-6166.
ekONOmIka 2016 Vol. 95(3),
p(112-127); 2016.
4. L. Kerschberg, M. Chowdhury, A.
Damiano, H. Jeong, S. Mitchell, J. Si, and S. Smith. Knowledge Sifter: Ontology-Driven Search over Heterogeneous Databases. USA : George Mason University, Fairfax, Virginia; 2004.
5. สุปราณี ทัพมงคล และศิริกาญจนา พิลาบุตร.
การสืบค้นข้อมูลเชิงความหมายของ
การท่องเที่ยวด้วยออนโทโลยีโดยใช้
RDF และ SPARQL. บทความวิจัย. ปี
ที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม
2559) : 5-11; 2559.
6.เสกสรรค์ ศิวิลัย และจักรกฤษณ์ เสนห์
นมะหุต. การพัฒนาระบบคำถาม-คำตอบในการแนะนำอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย. การประชุมวิชาการระดับประเทศด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ. ครั้งที่ 5 (22-23 พฤษภาคม
2552) : 167-172; 2556.