การทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและและอินสตาแกรม

Main Article Content

เกรียง กิจบำรุงรัตน์

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้เป็นการทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมจำนวน 409 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีตัวแปรอิสระที่เป็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านกระบวนการ ส่วนตัวแปรตามคือการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมาน ประกอบด้วย เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


                 ผลการวิจัยการทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมมีทั้งหมด 3 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากค่าสัมประสิทธิ์ของสมการถดถอย (Beta Coefficient) จากมากไปน้อย ได้แก่ ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและความมีชื่อเสียงของแบรนด์ และปัจจัยด้านการนำเสนอข้อมูลสินค้าและความสะดวกในการสั่งซื้อและชำระเงิน ตามลำดับ


                  ผลการศึกษาการทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านค้าออนไลน์สินค้าแฟชั่น ประเภทเสื้อผ้า ทั้งตัวผู้ประกอบการทั่วไป บริษัทสินค้าแฟชั่น ประเภทเสื้อผ้าและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจ และวางแผน เพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันต่อคู่แข่งขันในการดำเนินธุรกิจ เพื่อผลการประกอบการที่ดีและมีกำไรได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

Article Details

บท
Original Articles

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลาย
ตัวแปร. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาสถิติ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เจษฎาภรณ์ ศรศรีเกิด. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ
ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียของ
นักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะเศรษฐศาสตร์
ธัญญพัสส์ เกตุประดิษฐ์ และ อิทธิกร ขาเดช. (2554).
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทาง
อินเตอร์เนตของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการ
บริหารธุรกิจ, 1 (2) 21-39.
ปุญญนุช บุณยะสุนานนท์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการ
ซื้อเสื้อผ้าสตรีผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้หญิง
วัยทำงาน.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
พรนภัส โลกนิยม และ คณะ. (2558). พฤติกรรมแลt
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าตรา
สินค้าที่ออกแบบโดยนักออกแบบชาวไทย
ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8 (1), 39-62.
พนิตานันท์ อังคสกุลเกียรติ. (2556). ปัจจัยส่วนประสม
ทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อ
เสื้อผ้าของผู้หญิงจากร้านค้าในสังคมออนไลน์
เฟซบุ๊ค. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
พรรณิสา นิมมานโสภณ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ
ตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผู้หญิงจากร้านค้าออนไลน์
ผ่านแอปพลิเคชันอินสตาแกรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
รัชนี ไพศาลวงศ์ดี และ อิทธิกร ขาเดช. (2556). ปัจจัยที่
มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเสื้อผ้าสตรี
ทางอินเตอร์เน็ตของประชากรในเขต
กรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน
การตลาดและการบริหารธุรกิจ,
3 (1), 529-546.
ลักษณารีย์ ยิ่งเกรียงไกร. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความ
ตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4 (1), 1-12
Armstrong, G., & Kotler, P. (2003). Marketing and
introduction (6th ed.). New Jersey: Pearson
Education.
B. Schmitt. (2009),The concept of brand experience.
Journal of Brand Management, 16 (2009),
pp. 417-419. Cross Ref View Record in
Scopus Google Scholar
G. Biedenbach and A. Marell. (2010). The impact of
customer experience on brand equity in a
business-to-business services setting.
Journal of Brand Management, 17 (2010),
pp. 446-458. Cross Ref
View Record in Scopus Google Scholar
J.E. Escalas. (2004). Narrative processing: Building
consumer connections to brands. Journal
of Consumer Psychology, 14 (2004),
pp. 168-180 .Cross Ref View Record
in Scopus Google Scholar
M. Fetscherin and J.C.Usunier (2012). Corporate
branding: an interdisciplinary literature review
European Journal of Marketing, 46 (2012),
pp. 733-753, Cross Ref View Record i
n Scopus Google Scholar