กระบวนการเพิ่มจําานวนเฉดสีหลังการย้อมด้วยสีจากเมล็ดคําแสด

Main Article Content

ปทิตตาท์ วงศ์แสงเทียน

บทคัดย่อ

 


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนเส้นไหมจากเมล็ดคำแสด ค่าสี ความคงทนของสีต่อการซักและต่อแสง รวมถึงการเปรียบเทียบสีย้อมในระดับต้นแบบกับสีย้อมในห้องปฏิบัติการ วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย กระบวนการเพิ่มเฉดสีย้อมเส้นไหมจากสีย้อมธรรมชาติ การวัดหาค่าเฉดสีในระบบ CIELAB การทดสอบความคงทนต่อการซักฟอกและแสง และการย้อมสีในระดับต้นแบบ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีที่ดีที่สุด เกิดจากกระบวนการการย้อมด้วยน้ำย้อมเมล็ดคำแสดผสมกับสารส้ม 0.05% จะทำให้สีเส้นไหมที่มีความสว่างมากที่สุด ค่าสีของเส้นไหมที่ได้มีความสว่าง (L*) อยู่ระหว่าง 68.98-68.99 ค่าสีแดง – เขียว (a*) อยู่ระหว่าง 27.70-27.75 เป็นช่วงสีแดง เกิดจากกระบวนการย้อมด้วยน้ำย้อมไม้ฝางผสมกับสารส้ม 0.05% ตามด้วยน้ำย้อมเมล็ดคำแสดผสมกับสารส้ม 0.05% และค่าสีเหลือง – น้ำเงิน (b*) อยู่ระหว่าง 42.99-43.00 เป็นช่วงสีเหลือง เกิดจากกระบวนการย้อมด้วยน้ำย้อมเมล็ดคำแสด Cu 0.5% ซึ่งสีของเส้นไหมมีความคงทนต่อแสงและการซักส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี-ดีมาก และสีที่ได้จากการย้อมในระดับต้นแบบไม่แตกต่างจากการย้อมในห้องปฏิบัติการ

Article Details

บท
Original Articles
Author Biography

ปทิตตาท์ วงศ์แสงเทียน, 0894372508

 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตสุโขทัย

References

ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ. ผลของการเสริมเมล็ดคำแสด

ในอาหารไก่ไข่ต่อคุณภาพไข่และสีไข่แดง. กรุงเทพฯ;

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2556.

คำพอง อยู่ศรี. การย้อมเส้นไหมที่เคลือบไคโตซาน

ด้วยสีจากเมล็ดคำแสด. อุบลราชธานี; มหาวิทยาลัย

ราชภัฏอุบลราชธานี. 2551.

Silva G.F., Felix M. C. Gamarra A. L., Oliveira

and F. A. Cabral (2008) “Extraction of Bixin from

Annatto seeds using Supercritical carbon dioxide”

Brazilian Journal of Chemical Engineering. 25, 2

(July-December 2008) 419-426.

ปาเจรา พัฒนถาบุตร. (2551). กระบวนการย้อมสีธรรมชาติ. นครปฐม : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หน้า 11-12

สุวิมล หงษ์สาม และคณะ 2557. ศึกษาและพัฒนากระบวนการเพิ่มจํานวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนด้ายฝ้ายด้วยห้อม. วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม 2557 - ธันวาคม 2557. มหาวิทยาลัยนเรศวร: พิษณุโลก.

ระมัด โชชัย และพรเพ็ญ โชชัย. 2560. การศึกษาการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ในการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติ. สักทอง: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.) ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560. หน้า 59-70

พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์. 2562. การเพิ่มการติดสีและความคงทนของสีย้อมธรรมชาติสำหรับเส้นใยจากกก. มหาสารคาม: คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.