การวิเคราะห์ความมีเสถียรภาพของปั้นจั่นยกตู้สินค้าท่าเรือชายฝั่งเนื่องจากความเร็วลมด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาความมีเสถียรภาพของปั้นจั่นยกตู้สินค้าท่าเรือชายฝั่ง (Ship-to-shore gantry crane) ขนาด 40 Tons โดยการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite element method, FEM) ซึ่งโครงสร้างหลักปั้นจั่นทำด้วยเหล็กรูปพรรณรีดร้อน (SM 490) ทำการวิเคราะห์ในสภาวะปั้นจั่นทำงานปกติและกรณีหยุดนิ่งชั่วขณะเมื่อมีลมปะทะในช่วง 16 – 35 m/s พิจารณาตำแหน่งการทำงานทั้งหมด 7 ตำแหน่ง โดยมีแรงกระทำคงที่ในแนวดิ่งขนาด 811 287 N และสภาวะปั้นจั่นหยุดการทำงานมีลมปะทะ 48 m/s ผลการวิเคราะห์จากไฟไนต์เอลิเมนต์ทั้ง 2 สภาวะพบว่าความเค้นสูงสุดเกิดขึ้นบริเวณชุดดึง Boom (Forestay) มีค่าเท่ากับ 239.05 MPa ซึ่งน้อยกว่าความต้านทานแรงดึงครากของวัสดุ (Yield strength) และอยู่ในช่วงยืดหยุ่นเชิงเส้นยังคงมีความปลอดภัยจากการวิบัติเนื่องจากความเค้นเกินจุดคราก แรงปฏิกิริยาของขาปั้นจั่นสูงสุดเท่ากับ 30 300.61 N เกิดขึ้นที่บริเวณขาขวาของปั้นจั่น และแรงปฏิกิริยาสภาวะหยุดการทำงานไม่ก่อให้เกิดการลอยตัวของโครงสร้าง ระยะกระจัดสูงสุดเท่ากับ 157.02 mm เกิดขึ้นบริเวณปลาย Boom ซึ่งค่าสูงสุดดังกล่าวอยู่ในค่าที่ยอมอนุญาตและเงื่อนไขการออกแบบของปั้นจั่น นอกจากนี้ยังพบว่าแรงที่เกิดจากการปะทะของลม ไม่ส่งผลต่อการเสียสมดุลของปั้นจั่นและความแข็งของชิ้นส่วน
Article Details
References
Practice, and Maintenance. Second Edition Published: Professional Engineering Publishing Limited London and Bury St Edmunds. UK, 2002.
2. Francesco, Zaupa. (2006). Main Structure
Calculation and Safety Checks Revision 1. (Paolo De Nicola-Paceco Portainer Cranes for Port Authority of Thailand). Italy: Via Borgo Vicenza.
3. C. Klinger. (2014). Failures of cranes due to wind
induced vibrations. Engineering Failure Analysis, ELSEVIERE, Vol. 43. 7 January 2014, 198-220.
4. Zhang Yang, Zhao Jianzhi and Yao Junjun.
(2011). Static Structural Finite-element Analysis of tower crane based on FEM. IEEE, pp. 220-224, 2011.
5. Quang Huy Tran, Jungwon, Van Bac Nguyen,
Choonghyun Kang, Jin-Hee Ahn and Inn-Joon Park.(2018). Sensitivity Analysis for Ship-to-Shore Container Crane Design. Applied sciences, Vol. 7, pp.1-14,2018.
6. Gang Tang, Chen Chi, Yide Wang and Xiong Hu.
(2019). Strength Analysis of the Main Structural Component in Ship-to-Shore Cranes Under Dynamic Load, IEEE, Vol. 7, pp. 23959-23966, 2019.
7. Jung-Hyun J. & Sihyun K. (2020). Key
Performance Indicator Development for Ship-to-Shore Crane Performance Assessment in Container Terminal Operations. J. Mar. Sci. Eng, 8(6), DIO: 10.3390/jmse8010006.
8. Saeed Moaveni. (1999). Finite element analysis
theory and application with ANSYS. Prentice-Hall.
9. Federation Europeenne De La Manutention
Section 1. (1987). Rules for the Design of Hoisting Appliances. (Classification and Loading on Structures and Mechanisms). 3rd ed. French and German: Technical Committee of the Section 1 of the F.E.M.
10. Przemieniecki, J. S. (1968). Theory of Matrix
Structural Analysis. New York: McGraw-Hill.
11. วินิต ช่อวิเชียร และวรนิติ ช่อวิเชียร. (2550) การออก
แบบโครงสร้างเหล็กตามมาตรฐาน AISC/ASD/LRFD. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. ชัยยันต์ ใจบุญมา. (2551) การวิเคราะห์โครงสร้าง
เครนด้วยวิธีไฟไนต์อิเลเมนต์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.