การพัฒนาผลิตภาชนะบรรจุจากเส้นใยเปลือกทุเรียนด้วยวิธีการเตรียมเส้นใย

Main Article Content

วริศชนม์ นิลนนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาปริมาณเส้นใยเปลือกทุเรียนที่เหมาะสมในการขึ้นรูปภาชนะจากเส้นใยชนิดฟอกขาว (DRFT)และไม่ฟอกขาว(DRF) ด้วยการใช้กระบวนการขึ้นรูปแบบอัดร้อน โดยศึกษาระดับเส้นใยในประมาณ 10, 20, 30 40, 50, และ 60% โดยน้ำหนัก และวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ การซึมผ่านของน้ำและน้ำมัน และความหนาแน่นของวัสดุ ผลการวิจัยพบว่า ภาชนะบรรจุที่ขึ้นรูปด้วยเส้นใยชนิด DRFT ให้ลักษณะปรากฏด้านสีขาวน้ำตาลอ่อน ความหนาแน่นสูงและมีน้ำหนักมาก โดยปริมาณเส้นใย DRFT 50% ให้ค่าความต้านทานการซึมผ่านน้ำและน้ำมันมากที่สุดเท่ากับ 53±9.29 sec/ml และ 14±0.57 sec/ml ตามลำดับ และมีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.15±1.08 kg/cm3 ขณะที่ภาชนะบรรจุที่ขึ้นรูปด้วยเส้นใย DRF ให้ลักษณะปรากฏด้านสีน้ำตาลเข้ม มีความมันวาว ขึ้นรูปได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา โดยปริมาณเส้นใย DRF 60% มีความสามารถต้านทานการซึมผ่านของน้ำและน้ำมัน และค่าความหนาแน่นมากที่สุดเท่ากับ 92±9.31 sec/ml,110±4.21 sec/ml และ0.13±1.30 kg/cm3 ตามลำดับ ดังนั้นการเลือกใช้ชนิดของเส้นใยเพื่อขึ้นรูปภาชนะบรรจุจึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถนำไปใช้สำหรับบรรจุอาหารแห้งได้

Article Details

บท
Original Articles

References

เอกสารอ้างอิง

กฤษณา ศิรเลิศมุกุล. (2547). เซลลูโลสจากเปลือกทุเรียน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ฐานมั่น. (2543). การพัฒนาภาชนะบรรจุจากแป้งมันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมภนิจภา กันทาดง, มินตรา พีเกาะ และอรธีรา สินด่านจาก. (2561). ฟิล์มคอมโพสิตชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลสเปลือกทุเรียน.วารสารวิจัยและวิชาการ มทร. พระนคร, 13(1), 39-50.

สุนันท์ พงษ์สามารถ, เรวดี ธรรมอุปกรณ์ และ ธิติรัตน์ ปานม่วง. (ม.ป.ป). การศึกษาสารคาร์โบไฮเดรตจากเปลือกทุเรียนในการเตรียมผลิตภัณฑ์ยาน้ำและผลิตภัณฑ์อาหาร. https://www.researchgate. net/scientific-contributions/sunanth-phngssamarth-17750384.

Food additives. (2021). What is Carboxymethyl Cellulose (CMC)/Cellulose Gum (E466) in Food and Uses?. https://foodadditives. net/thickeners/cellulose-gum/

Kaisangsri, N., Kerdchoechuen, O., & Laohakunjit, N.

(2012). Biodegradable foam tray from cassava starch blended with natural fiber and chitosan.

Industrial Crops and Products, 37(1), 542-546.

Lawton, J. W., Shogren, R.L., & Tiefenbacher, K. F. (2004). Aspen fiber addition improves the

mechanical properties of baked cornstarch foams. Industrial Crops and Products, 19,

-48.

Lubis, R., Saragih, S.W., Wirjosentono, B., & Eddyanto, E. (2018). Characterization of

durian rinds fiber (Durio zubinthinus, murr) from North Sumatera. AIP conference

Proceedings 2049 (pp.020069,1-8). https://doi.org/10.1063/1.5082474

Penjumras, P., Abdul Rahman, R.B., Talib, R.A., & Abdan, K. (2014). Extraction and Characterization of Cellulose from Durian Rind. Agriculture and Agricultural Science Procedia, 2, 237-243.

Salgado, P. R., Schmidt, V. C., Molina Ortiz, S. E., Mauri, A. N., & Laurindo, J. B. (2008).

Biodegradable foams based on cassava starch, sunflower proteins and cellulose

fibers obtained by a baking process. J. of Food Engineering, 85, 435-443.

Soykeabkaew, N., Supaphol, P., & Rujiravanit, R.(2004).Preparation and characterization

of jute-and flax-reinforced starch-based composite foams.Carbohydrate Polymers,

, 53-63.