การเพิ่มประสิทธิภาพการทำ ความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบหลอดแก้วสุญญากาศ ชนิดท่อความร้อนด้วยการติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์แบบรูปประกอบพาราโบลา

Main Article Content

Sorawit Sonsaree
กฤษฎา อ้นอ้าย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มคุณภาพความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบหลอดแก้วสุญญากาศชนิดท่อความร้อนด้วยการติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์แบบรูปประกอบพาราโบลา ในการศึกษาแผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์ที่ทำจากวัสดุแตกต่างกัน 2 ชนิด คือ แผ่นสังกะสี และแผ่นสแตนเลส ที่มีความสูงของรางสะท้อนเท่ากับ 86.80 mm ได้ถูกนำมาใช้ร่วมกับหลอดแก้วสุญญากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในและเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกเท่ากับ 33.80 mm และ 47.20 mm ที่มีความยาว 1,836 mm จำนวน 8 ท่อ ผลการศึกษาเปรียบเทียบในกรณีที่มีการติดตั้งและไม่มีการติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์ พบว่า เมื่อติดตั้งแผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์แบบรูปประกอบพาราโบลาจะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพความร้อนที่เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตได้ โดยประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบจะมีค่าสูงสุดเมื่อระบบใช้แผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์ที่ทำจากแผ่นสังกะสี แต่หากพิจารณาถึงอุณหภูมิน้ำร้อนสูงสุดที่ระบบผลิตได้ พบว่า ระบบที่มีการใช้แผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์ที่ทำจากแผ่นสแตนเลสจะมีความเหมาะสมที่สุด

Article Details

บท
Original Articles

References

Chamsa-ard, Wisut, Sukchai, Sukruedee, Sonsaree, Sorawit and Sirisamphanwong, Chatchai. (2014). Thermal performance testing of heat pipe evacuated tube with compound parabolic concentrating solar collector by ISO 9806-1. Energy Procedia, 56, 237-246.
Jiang, C., Yu, L., Yang, S., Li, K., Wang, J., Lund, P. D., & Zhang, Y. (2020). A review of the compound parabolic concentrator (CPC) with a tubular absorber. Energies, 13(3), 695.
Mgbemene, Chigbo A., Duffy, John, Sun, Hongwei and Onyegegbu, Samuel O. (2010). Electricity Generation From a Compound Parabolic Concentrator Coupled to a Thermoelectric Module. Journal of Solar Energy Engineering, 132(3). doi: 10.1115/1.4001670
Pranesh, V, Velraj, R, Christopher, S and Kumaresan, V. (2019). A 50 year review of basic and applied research in compound parabolic concentrating solar thermal collector for domestic and industrial applications. Solar energy, 187, 293-340.
Sonsaree, Sorawit, Asaoka, Tatsunori, Jiajitsawat, Somchai, Aguirre, Hernan andTanaka, Kiyoshi. (2018). A small-scale solar Organic Rankine Cycle power plant in Thailand: Three types of non-concentrating solar collectors. Solar energy, 162, 541-560.
Vijayakumar, P, Kumaresan, G, Faizal, U Mohamed, Chandran, GR Vijay and Adharsh, KS Vishnu. (2019). Performance evaluation of compound parabolic concentrator with evacuated tube heat pipe. Paper presented at the IOP Conference Series: Earth and Environmental Science.
Wu, Z., Wang, X., Sha, L., Li, X., Yang, X., Ma, X., & Zhang, Y. (2021). Performance analysis and multi-objective optimization of the high-temperature cascade heat pump system. Energy, 223, 120097.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2560). โครงการปรับปรุงแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์จากภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเทศไทย (ปี 2560) (pp. 6).
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 - 2580 (AEDP2018) (pp. 43).
สรวิศ สอนสารี. (2562). ผลของความสูงและวัสดุของ แผ่นสะท้อนรังสีอาทิตย์แบบรูปประกอบพาราโบลาที่มีผลต่อการผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562, 168-183.